Page 133 - kpiebook63011
P. 133
133
พรรคเพื่อไทยไม่ได้เน้นเรื่องสาขาพรรคการเมืองมากนัก นับตั้งแต่ที่มีพรรคไทยรักไทย ไม่เน้นการตั้ง
สำานักงานหรือสาขาที่เป็นไปตามแนวคิดทฤษฎี แต่ให้สำานักงานของ ส.ส.ทำาหน้าที่ในการประสานและทำางาน
เอกสารของ ส.ส.มากกว่า “พรรคเพื่อไทยไม่เน้นการมีสาขาพรรคแต่ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เน้นการท�า
สาขาพรรค ซึ่งข้อนี้ต้องเห็นใจกับการเริ่มต้นใหม่หมด จากเดิมที่มีสาขาเยอะเป็นร้อย แต่พรรคประชาธิปัตย์
มีความแข็งในส่วนของการท�ากลุ่มยุวธิปัตย์ที่เอาพลังเยาวชนมาเป็นฐานของการท�าสาขาพรรคได้” (สัมภาษณ์
ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 19 มกราคม 2562)
ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐมองว่า สาขาพรรคมีความสำาคัญและวัฒนธรรมของคนไทย
ยังไม่เข้าใจเรื่องของสาขาพรรคมากนัก เลยมองว่าสำานักงานของ ส.ส. หรือผู้สมัครเป็นสาขาพรรค ที่จริงสำานักงาน
ของนักการเมืองในพื้นที่เป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำางานของนักการเมืองมากกว่า เพราะใช้เพื่อประสานทีมงาน
ในการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะส่วนใหญ่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือ ส.ส.ต้องอยู่ในพื้นที่เป็นหลัก “ส�านักงานของ
บางคนคือสาขา แต่มันคือส�านักงานในการท�างานของเรามากกว่า…ต้องมีการเตรียมการทีมกฎหมายของตนเอง
ที่ร่วมกับพรรคส่วนกลาง ทีมงานของผู้สมัคร ส.ส.แต่ละคนจะต้องท�างานในพื้นที่ร่วมกับชาวบ้านได้ อย่างเช่น
ผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ จังหวัดเชียงใหม่ เขตหนึ่ง จะก�าหนดแกนน�าของตนเองในระดับต�าบลให้เป็น
คนคอยประสานหลักก่อน และให้ไปหาคนที่จะเป็นคนประสานหลักในหมู่บ้านอีกที ซึ่งการสร้างทีมระดับต�าบล
และหมู่บ้านนี้คล้ายกับระบบหัวคะแนนแต่ที่จริงต่างกันตรงที่คนเหล่านี้ท�าหน้าที่สนับสนุนและประสานการเข้ามา
ในพื้นที่ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเรียกประชุมชาวบ้านเพื่อให้ผู้สมัครได้มาเจอและพูดคุย” (สัมภาษณ์
ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐ จังหวัดเชียงใหม่ 20 มกราคม 2562)
การจัดตั้งสาขาของพรรคพลังท้องถิ่นไท ซึ่งถือเป็นพรรคที่มีบทบาทระดับท้องถิ่นในการเลือกตั้งครั้งนี้
มีการตั้งสาขาพรรคตามภูมิภาค คือ มีสาขา 4 ภาค ได้แก่ ตรัง ชลบุรี กาฬสินธุ์ และเชียงใหม่ และตั้งใจจะส่ง
ผู้สมัคร ส.ส.ครบ 350 เขตเลือกตั้ง ในการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น พรรคใช้เครือข่ายของสมาคมข้าราชการ
ท้องถิ่นแห่งประเทศไทยช่วยดำาเนินการประสานคัดกรอง ซึ่งทำาให้สมาชิกและผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่จะเป็น
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำาบล (อบต.) กับกลุ่มสันนิบาตเทศบาลเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการขยายกลุ่ม
สมาชิกและผู้สมัครไปยังกลุ่มผู้นำาชาติพันธุ์ กลุ่มผู้พิการ และ กลุ่มความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ โครงสร้าง
การบริหารของพรรคคือ รองหัวหน้าพรรคแต่ละคน จะเป็นรองหัวหน้าพรรคที่รับผิดชอบในแต่ละภูมิภาค
การเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีบรรยากาศของการตื่นตัวทางการเมืองสูงมาก
โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นพื้นที่ของการต่อสู้ของพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ โดยมีพรรค
อนาคตใหม่เป็นตัวแปรในการแข่งขันอย่างชัดเจน สภาพบริบททางการเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ที่ยังคงอบอวล
ไปด้วยความขัดแย้งทางการเมือง 2 ขั้วอำานาจ ทิศทางของยุทธศาสตร์พรรคการเมืองในการเลือกตั้ง การรณรงค์
หาเสียงเลือกตั้ง ยังคงตอกยำ้าให้เห็นการแบ่งฝ่ายทางการเมือง พรรคเพื่อไทยยังคงเป็นพรรคที่มีฐานคะแนน
ที่เข้มแข็งในพื้นที่