Page 132 - kpiebook63011
P. 132

132   การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             ของสมาชิกพรรคที่เหมือนเป็นเจ้าของของพรรคด้วย เพราะการโหวตคัดเลือกไม่ใช่เกิดแค่การใช้ระบบ Primary

                                                   19
             Vote ในการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น แต่ในระดับสาขาพรรค หัวหน้าสาขาพรรคเองก็เกิดมาจาก
             การโหวตของสมาชิกในจังหวัดนั้น ๆ ซึ่งหัวหน้าสาขาพรรคอนาคตใหม่มองว่า กระบวนการและวิธีการของ

             การดำาเนินกิจการของพรรคเปิดโอกาสและให้ความสำาคัญต่อคนที่อยากเข้ามาทำางานกับพรรคอย่างแท้จริง


                                  “  พรรคสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองให้กับพวกเราที่ไม่เคยมีประสบการณ์
                           ทางการเมือง เราเห็นบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรค มีการโหวตทุกระดับ

                           เห็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนบรรยากาศทางการเมืองที่ไม่เคยเห็น ต�าแหน่งหัวหน้าสาขาไม่มี
                           เงินเดือนแต่มันเป็นงานที่เริ่มต้นมาจากการเป็นอาสาสมัครและท�ามาตลอดคนเลยโหวตให้

                           เราก็เหมือนยอมรับว่าเราคือคนที่ท�างานให้พรรคอย่างแท้จริง ทั้งที่พรรคให้สมาชิกทุกคน
                           ในจังหวัดสามารถสมัครเป็นหัวหน้าสาขาได้ มีการเรียกประชุม สมาชิก 150 คน ให้รับรอง

                           คนที่ได้รับการโหวตให้เป็นหัวหน้าสาขาพรรค การท�างานร่วมกันของสมาชิกสาขามาจาก
                           หลากหลาย มีตั้งแต่ข้าราชการผู้ใหญ่เกษียณมาและมีเยาวชน แม่บ้าน เมื่อมาท�างานร่วมกัน

                           แบบไม่เป็นทางการไม่มีขั้นตอนมากความเหลื่อมล�้าของคุณลักษณะของแต่ละคนก็ค่อย ๆ
                           สลายไป และสิ่งเหล่านี้คือคุณค่า วัฒนธรรมใหม่ที่พรรคอนาคตใหม่ก�าลังสร้าง” (สัมภาษณ์

                           หัวหน้าสาขาพรรคอนาคตใหม่ 17 มกราคม 2562)

                     นอกจากนั้น สาขาพรรคยังมีความสำาคัญในการเป็นจุดเริ่มต้นของการทำาความรู้จักผู้ที่สนใจในการเสนอตัว
             เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะการใช้สาขาพรรคเปิดตัวและนำาเสนอวิสัยทัศน์อีกด้วย จากการสัมภาษณ์ผู้สมัคร

             รับเลือกตั้งของพรรคอนาคตใหม่มีความคิดเห็นว่า ทีมงานของพรรคในระดับสาขาจังหวัดมีความสำาคัญมาก เพราะ
             ต้องช่วยกันประเมินสถานการณ์และคอยเป็นฝ่ายสนับสนุนช่วยเหลือ โดยเฉพาะการประเมินคะแนนที่คาดว่า

             จะได้เพราะเกี่ยวข้องกับระบบบัญชีรายชื่อ ผู้สมัครเขตเลือกตั้งหนึ่งของพรรคอนาคตใหม่มองว่าหลายเขตเลือกตั้ง
             ที่ประเมินกันไว้ พรรคอนาคตใหม่จะชนะการเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 การประเมินผิดเกิดจากการประเมิน

             พรรคเพื่อไทยตำ่าไปเพราะคิดว่ากระแสมีแต่ไม่มากเท่ากับการเลือกตั้งที่ผ่านมา และนโยบายของพรรคเพื่อไทย
             ที่จับต้องได้มากกว่า แต่แนวทางของอนาคตใหม่ออกมาในเชิงอุดมการณ์ทางการเมืองผสมกับนโยบายเชิงปฏิบัติการ



             19   ระบบการคัดเลือกผู้สมัครขั้นต้น หรือ “ระบบไพรมารีโหวต” คือ การให้สมาชิกพรรคการเมืองมีส่วนร่วมในการเลือก
             ว่าใครจะเป็นตัวแทนพรรคในการลงสมัคร ส.ส. ก่อน ส.ส. จะลงสู่สนามเลือกตั้ง ซึ่ง พ.ร.ป. พรรคการเมือง ได้บังคับให้
             ทุกพรรคการเมืองต้องทำาตาม แต่คำาสั่งฉบับนี้ได้ยกเลิกระบบไพรมารีโหวตตาม พ.ร.ป. พรรคการเมืองและกำาหนดระบบการคัดเลือก
             ผู้สมัคร ส.ส. แบบใหม่ขึ้นให้ใช้เฉพาะการเลือกตั้งที่กำาลังจะเกิดขึ้นในปี 2562 ระบบไพรมารีโหวตใน พ.ร.ป พรรคการเมือง หรือ
             “แบบเดิม” นั้นมีขั้นตอนสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสำาหรับ ส.ส. สองแบบ คือ ส.ส. แบบเขตเลือกตั้งและ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
             ของพรรค ในการสรรหาผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง “คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง” ของแต่ละพรรค
             จะเปิดรับสมัคร ตรวจสอบคุณสมบัติและจะส่งรายชื่อให้ “สาขาพรรคการเมือง” หรือ “ตัวแทนพรรคการเมืองประจำาจังหวัด”
             เพื่อจัดการประชุมให้สมาชิกพรรคลงคะแนนเลือกผู้สมัครตามรายชื่อนั้น โดยมีข้อกำาหนด คือ พรรคการเมืองที่จะส่งผู้สมัคร
             รับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ใดได้นั้น ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำาจังหวัดที่นั้น และ
             ในการประชุม สาขาพรรคต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า 100 คน หรือตัวแทนพรรคประจำาจังหวัดต้องมีสมาชิกมาประชุม
             ไม่น้อยกว่า 50 คน ซึ่งสมาชิกจะลงคะแนนเสียงเลือกได้หนึ่งคน และผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 2 คนแรกของแต่ละเขตเลือกตั้ง
             จะถูกส่งให้ “คณะกรรมการบริหารพรรค” ให้ความเห็นชอบ (iLaw, 2561)
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137