Page 128 - kpiebook63011
P. 128
128 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
ระบบหัวคะแนนยังมีความจำาเป็นและความสำาคัญต่อการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
โดยเฉพาะกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมีบทบาทในการสนับสนุนพรรคระดับชาติด้วย กลุ่มการเมืองท้องถิ่นและนักการเมือง
ท้องถิ่นต่างเห็นว่าระบบหัวคะแนนอาจมีความแตกต่างไปจากการเลือกตั้งในอดีตเพราะหัวคะแนนก็วิวัฒนาการ
ไปสู่กลุ่มคนหลายคนที่ไม่ใช่แค่ผู้นำาท้องถิ่นเท่านั้น โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหม่ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าการสร้าง
ระบบหัวคะแนนขึ้นมาใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นวิธีการคือ การไปดึงเอาหัวคะแนนของพรรคการเมืองอื่นมา
ช่วยตนเอง ซึ่งการใช้เงินและผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นได้ ประเด็นสำาคัญจากผู้ให้ข้อมูลคือ ภาพลักษณ์ของ
พรรคพลังประชารัฐในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ถือว่ามีความได้เปรียบในฐานะการเป็นพรรคที่เชื่อว่าเป็นพรรครัฐบาล
ที่มีนโยบาย เช่น นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และนโยบายธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งเป็นนโยบายที่มาเกื้อกูล
ประชาชนในพื้นที่ท้องถิ่นช่วงก่อนการเลือกตั้ง วิธีการและการหาเสียงโดยใช้นโยบายแบบประชานิยมของ
พรรคพลังประชารัฐเป็นการเดินตามรอยของพรรคเพื่อไทย และแนวนโยบายที่เน้นการให้และแจกผลประโยชน์
ต่าง ๆ ยิ่งทำาให้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในโครงสร้างการเมืองไทยเข้มแข็งมากขึ้น
การขับเคลื่อนความนิยมของพรรคพลังประชารัฐในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการใช้เครือข่ายของกลุ่ม
การเมืองเก่าและข้าราชการในจังหวัดเป็นหลัก สร้างการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความสัมพันธ์และอำานาจ
การเมืองในพื้นที่ เพราะหัวคะแนนในระดับพื้นที่มีการเปลี่ยนขั้วการเมือง ความเกรงกลัวต่อกฎหมายและ
เจ้าหน้าที่รัฐมีผลต่อการเปลี่ยนขั้วและการทำางานทางการเมืองเพื่อสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งในพรรคต่าง ๆ
แม้แต่ในระบบการคัดสรรผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐเกิดจากการคัดเลือกจากพรรคส่วนกลาง
การคัดเลือกต้องพิจารณาองค์ประกอบของผู้สมัครหลายประการ เช่น เครือข่ายเชิงอุปถัมภ์ในพื้นที่ที่ผู้สมัคร ส.ส.
มีเครือข่ายการเมืองรองรับอยู่ และเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมือง แนวทางการทำาพรรคการเมือง
ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นับว่ามีความหลากหลาย กล่าวคือในขณะที่พรรคอนาคตใหม่
พยายามใช้วิธีการที่เริ่มจากการก่อรูปพรรคด้วยฐานรากที่ไม่ต้องมีประสบการณ์ในการแข่งขันทางการเมือง
มาก่อน แต่พรรคใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐต้องการผู้สมัครที่สำาเร็จรูปในระดับหนึ่ง คือ การมีทุน
ทางการเมืองมาก่อนเพื่อความได้เปรียบในการเข้าพื้นที่
พรรคพลังประชารัฐมีการใช้กลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้าน หรือ อสม. ในการหาเสียง
เพราะกลุ่ม อสม. เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำาคัญในชุมชน เป็นกึ่งตัวแทนของรัฐ อีกทั้งยังมีจำานวนมากและมี
ทั่วประเทศ ดังนั้น การพยายามออกนโยบายที่ส่งเสริมรายได้ของ อสม. ให้มากขึ้น ถือเป็นฐานคะแนนที่สำาคัญ
และยังสามารถสร้างให้เป็นหัวคะแนนในการหาเสียงได้อีกด้วย ผู้บริหารท้องถิ่นมองว่าระบบอุปถัมภ์สำาคัญมาก
ต่อการเป็นนักการเมืองไม่ว่าจะระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น เพราะระบบอุปถัมภ์หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมชุมชน
และสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติระหว่างประชาชนกับนักการเมือง แต่สิ่งที่จำาเป็นสำาหรับนักการเมืองคือ
การมีทรัพยากรในการหล่อเลี้ยงและสนับสนุนระบบอุปถัมภ์เหล่านั้น ดังนั้นนักการเมืองในปัจจุบันทั้งในระดับชาติ
และระดับท้องถิ่นต้องมีธุรกิจรองรับการทำางานทางการเมือง