Page 142 - kpiebook63011
P. 142
142 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
3. หน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะคณะกรรมการการเลือกตั้งควรมีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยี
ในเรื่องของการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ทั้งในเชิงสถิติตัวเลขและในเชิงคุณภาพ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการเลือกตั้งและการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เมื่อสื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากขึ้น การให้ความรู้ประชาชนจึงจำาเป็นและสำาคัญ
โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ
5. การส่งเสริมพรรคการเมืองในการนำาเสนอนโยบาย และพัฒนานโยบายของพรรคการเมืองที่มาจาก
ความต้องการของประชาชนจะช่วยลดบทบาทของหัวคะแนนและการตอบแทนผลประโยชน์
ผ่านการซื้อเสียงได้ รัฐบาล พรรคการเมือง และคณะกรรมการการเลือกตั้งควรเปิดโอกาสให้
ประชาชนร่วมนำาเสนอความต้องการเพื่อนำาไปสู่ประเด็นเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาไปสู่นโยบายของ
พรรคการเมืองที่จะช่วยเสริมการมีส่วนร่วมและการตื่นตัวทางการเมือง สร้างความเป็นเจ้าของ
พรรคการเมืองร่วมกัน
6. ควรส่งเสริมความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองผ่านพรรคการเมืองและ
การเลือกตั้งทั้งในเรื่อง เพศ อายุ และชาติพันธุ์ เพื่อเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม
ให้เกิดการเรียนรู้ทางการเมืองในเรื่องของสิทธิ ความเท่าเทียม และความเสมอภาคซึ่งจะนำามาสู่
การวางรากฐานของกระบวนการสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
7. ควรลดข้อจำากัดในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในทางการเมืองที่ถูกต้องของประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่
ห่างไกลและในพื้นที่ชนบท ควรใช้สื่อเสียงตามสายและผู้นำาชุมชนเป็นกลไกสำาคัญในการส่งเสริม
ความรู้ที่ถูกต้องเท่าเทียมให้แก่ประชาชน กกต.และหน่วยงานภาครัฐ ควรร่วมกับพรรคการเมือง
ในการจัดเดินสายให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องระบบการเลือกตั้ง นโยบายพรรคและการพบปะ
ประชาชนร่วมกัน
8. บทบาททางวิชาการของนักวิชาการทั้งในสถาบันการศึกษาและในพื้นที่สาธารณะในการให้
ความรู้และนำาเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายในทางการเมืองควรมีอิสระ เพื่อให้เกิดกระบวนการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดความเข้าใจเรื่องของประชาธิปไตยต่อไป