Page 140 - kpiebook63011
P. 140

140 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








                      การปรับตัวของพรรคการเมืองในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งมีความแตกต่างอย่างชัดเจนในส่วนของ

             พื้นที่ในเขตเมืองกับเขตชนบท สภาพบริบทที่มีความแตกต่างกันมากส่งผลให้พรรคการเมืองมีการใช้กลยุทธ์
             การหาเสียงที่แตกต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่เขตเลือกตั้งของตน พรรคการเมืองทุกพรรคที่ลงแข่งขันในเขตเมือง

             ใช้สื่อออนไลน์ทั้งเฟสบุ๊ค,ไลน์และทวิตเตอร์ค่อนข้างมาก และมีการโพสต์ข้อความรูปภาพต่าง ๆ เพื่อให้เกิด
             การเชื่อมต่อกับกลุ่มคนชนชั้นกลางและคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ในขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตพื้นที่นอกอำาเภอเมือง

             ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีหุบเขาและชุมชนอยู่กระจัดกระจาย ที่มีความหลากหลายของ
             กลุ่มชาติพันธุ์ ทำาให้การหาเสียงจะต้องอาศัยวิธีการเข้าหาชุมชน การใช้ป้ายหาเสียง แจกแผ่นพับ และเข้าพบปะ

             พูดคุยกับผู้นำาชุมชน ซึ่งตอกยำ้าระบบวัฒนธรรมของพื้นที่ในการเข้าถึง การสร้างความสัมพันธ์ที่ขยายไปถึง
             การจัดเครือข่ายความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในการเลือกตั้งด้วย


                      การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ยังคงอาศัยระบบหัวคะแนน

             ที่เชื่อมโยงผลประโยชน์ระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับประชาชน ทั้งในรูปแบบของตัวเงินและข้อเสนอในรูปแบบ
             อื่น ๆ เช่น การช่วยเหลือผ่านนโยบาย หรือการสนับสนุนและพัฒนาความจำาเป็นของสาธารณูปโภคในชุมชน

             ระบบอุปถัมภ์ระหว่างพรรคการเมือง นักการเมือง กลุ่มการเมืองท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
             มีความมั่นคงและเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงอำานาจทางการเมืองของพรรคการเมืองและผู้นำาการเมือง กระบวนการคัดสรร

             ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวทางที่แตกต่างกันของแต่ละพรรค แต่พรรคเพื่อไทย
             ยังคงเชื่อมั่นถึงฐานเสียงของพรรคที่ทำาให้ส่งผู้สมัครทั้ง 8 เขตเป็นผู้ที่เป็นอดีต ส.ส. ทั้งสิ้น ในขณะที่พรรคการเมือง

             อื่น ๆ ยังคงอาศัยการคัดเลือกผู้สมัครด้วยคุณลักษณะของตัวบุคคล ชื่อเสียง หรือเคยมีบทบาทในชุมชนมาก่อน
             เนื่องจากการมีต้นทุนทางสังคมเป็นฐานรองรับจะช่วยทำาให้การเชื่อมเครือข่ายอุปถัมภ์กับการรณรงค์หาเสียง

             เลือกตั้งง่ายขึ้น

                      พฤติกรรมในการเลือกตั้งของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต คือ มีความตื่นตัวทางการเมือง

             จากการรับสื่อ ข้อมูลข่าวสารจากหลายช่องทาง และจากบทเรียนความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต การเลือกตั้ง

             สำาหรับประชาชนจึงมีความสำาคัญที่ไม่ใช่แค่การเลือก ส.ส. อีกต่อไป แต่เป็นการเลือกทิศทางของการเมืองระดับชาติ
             และการเลือกนโยบายที่ประชาชนคิดว่าหากลงคะแนนเสียงไปควรจะมีผลตอบแทนของนโยบายที่เป็นรูปธรรม
             ผู้นำาชุมชน หัวคะแนนยังคงมีบทบาทในการชี้นำา โน้มน้าวประชาชนในชุมชนให้เลือกพรรคการเมืองหรือผู้สมัคร

             ที่ตนสนับสนุน แต่ไม่สามารถควบคุมการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้อย่างเด็ดขาด ความเปลี่ยนแปลงของ

             พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนมีสาเหตุมาจาก 3 ประเด็นหลัก ๆ ดังนี้ ประการแรก มาจากความต้องการ
             ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งอันเกิดจากความอัดอั้นของบรรยากาศทางการเมืองภายหลังจาก
             การรัฐประหารตั้งแต่ พ.ศ.2557 ที่ทำาให้การเลือกตั้งมีความหมายต่อวิถีชีวิตมากขึ้น ประการที่สอง เกิดมาจาก

             ระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่มีการใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม ทำาให้มีพรรคการเมืองมากขึ้น

             และมีพรรคการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้น สร้างบรรยากาศของการเมืองการเลือกตั้งที่มีสีสัน ความหลากหลายทั้งใน
             พื้นที่และในสื่อทุกช่องทาง ทำาให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลในสังคมมาก ประการที่สาม ปัญหาทางเศรษฐกิจ
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145