Page 542 - kpiebook63010
P. 542

541







                  4.4 บทวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองและรอยแยก


                  ทางสังคม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง




                          ในส่วนนี้จะพิจารณาสองประเด็นหลักก็คือ สถานะของความขัดแย้งในสังคมกับการเลือกตั้ง

                  เมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 และ ตัวแบบพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร




                  4.4.1 มิติที่ซับซ้อนขึ้นของความขัดแย้งทางการเมืองและรอยแยกทางสังคมก่อนและ


                  หลังการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562


                          ความขัดแย้งทางสังคมที่น�าไปสู่ประเด็นท้าทายในการวิเคราะห์เรื่องของรอยแยกทางสังคมนับตั้งแต่
                  วิกฤติทางการเมือง พ.ศ. 2549 มาจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นความขัดแย้งที่เพิ่มมิติที่ซับซ้อนขึ้นจนกลายเป็น

                  ความขัดแย้งใน 3 มิติหลัก


                          มิติที่ 1: ความขัดแย้งในสังคมไทยร่วมสมัยที่น�าไปสู่วิกฤติทางการเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2549
                  จนถึงการท�ารัฐประหาร พ.ศ. 2557 เป็นความขัดแย้งที่น�าไปสู่การเกิดเสื้อเหลืองและเสื้อแดง และต่อมา

                  ได้กลายสภาพเป็นความขัดแย้งระหว่าง กปปส. กับ เสื้อแดง ซึ่งศูนย์กลางของความขัดแย้งแสดงตัวออกมา
                  ในเรื่องของขบวนการต่อต้าน(ระบอบ)ทักษิณ และ ขบวนการสนับสนุน(ระบอบ)ทักษิณ โดยที่ความร้าวลึก

                  ทางสังคมในอดีตนั้นได้แสดงออกมาในเรื่องอิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนับจากการเลือกตั้ง
                  เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 (ที่เป็นโมฆะ) การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 การเลือกตั้ง

                  เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (ที่เป็นโมฆะ) โดยที่มี
                  ความร้าวลึกในฐานของภูเขาน�้าแข็งเป็นเรื่องของความขัดแย้งในเรื่องชนชั้น ความยุติธรรม และ แนวคิดประชาธิปไตย

                  ที่ต่างกัน (รวมทั้งการต่อต้านประชาธิปไตยในนาม “เพื่อประชาธิปไตย” และ “ประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์”)


                          มิติที่ 2: ความขัดแย้งในสังคมไทยในช่วงหลังการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมานั้น
                  มิได้ลดความขัดแย้งทางสังคมในแบบสีเสื้อลงในแบบที่คณะรัฐประหารกล่าวอ้าง ซ�้ายังเริ่มเกิดค�าถามมากขึ้นเรื่อย ๆ

                  ย้อนกลับไปเมื่อการท�ารัฐประหารครั้งที่แล้ว (19 กันยายน พ.ศ. 2549) ว่าการท�ารัฐประหารนั้นเป็นทางออก
                  ให้กับวิกฤติของประเทศ หรือ ท�าให้วิกฤติมีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในเรื่องของความล่าช้า

                  และข้อสงสัยในความเป็นกลางในการด�าเนินคดี ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองแบบสีเสื้อที่ผ่านมา
                  นอกจากข้อสงสัยที่มีต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบสีเสื้อที่มีอยู่ด้วยการท�ารัฐประหาร การปราบปราม

                  ประชาชนผู้เห็นต่างด้วยโครงสร้างกฎหมายพิเศษกับคนที่ท้าทายการแก้ปัญหาด้วยการท�ารัฐประหาร และ
                  ผลงานการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่ประสบความส�าเร็จในเรื่องของตัวเลขการเติบโตและความเชื่อมั่น
   537   538   539   540   541   542   543   544   545   546   547