Page 543 - kpiebook63010
P. 543

542      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             ทางเศรษฐกิจท�าให้ความขัดแย้งในสังคมเกิดขึ้นอีกมิติหนึ่ง เพิ่มเข้าไปจากความขัดแย้งในแบบเดิม (สีเสื้อ)

             เป็นความขัดแย้งในเรื่องของการยอมรับระบอบรัฐประหาร โดยในรอบนี้ความขัดแย้งมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวระบอบ
             รัฐประหาร ทั้งผลพวงการรัฐประหาร การแก้รัฐธรรมนูญ และ การไม่ยอมรับภาวะผู้น�าของ พลเอกประยุทธ์

             จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร (คสช.) เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และต่อมาคณะ คสช. ได้แต่งตั้ง
             ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในระบอบรัฐประหาร จนกระทั่งกลายมาเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีหนึ่งเดียว

             ของพรรคพลังประชารัฐ ความขัดแย้งในชั้นที่สองจึงเป็นเรื่องระหว่างการ “เอาลุงตู่” และ “ไม่เอาลุงตู่”
             หรือ “การเอาการสืบทอดอ�านาจ” กับ “การไม่เอาการสืบทอดอ�านาจ หรือ การยุติวงจรการสืบทอดอ�านาจ”


                      มิติที่ 3: ความขัดแย้งในสังคมไทยในช่วงระยะไม่ถึงหนึ่งปีก่อนการเลือกตั้งเกิดจากการตั้งพรรค

             อนาคตใหม่ซึ่งชูประเด็นความขัดแย้งในมิติที่ 2 ชัดเจนที่สุด และชัดเจนกว่าการไม่เอาการน�าของ พลเอกประยุทธ์
             เช่นพรรคประชาธิปัตย์ หรือการไม่เอาระบอบรัฐประหารโดยชูมิติทางด้านผลงานทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก

             เหมือนเพื่อไทย การยกประเด็นการต่อสู้ระหว่างอนาคตและความหวังที่น�าเสนอโดยพรรคอนาคตใหม่
             เพื่อปะทะกับ “การเมืองเก่า” (แม้ว่าในจุดตั้งต้น หนึ่งในนโยบายชุดแรกของอนาคตใหม่คือรัฐสวัสดิการ แต่

             สุดท้ายประเด็นที่เป็นที่รับรู้มากที่สุดคือ การล้มล้างผลพวงรัฐประหาร) ประเด็นทั้งหมดนี้น�าไปสู่ความขัดแย้ง
             ในระดับที่สาม นั่นก็คือ ความขัดแย้งระหว่างรุ่น และตามที่ได้อภิปรายไว้ในส่วนของพรรคอนาคตใหม่ไปแล้ว

             ว่าความขัดแย้งในมิติของรุ่นนั้นไม่ใช่ความขัดแย้งในเรื่องทางประชากรศาสตร์ แต่เป็นความแตกต่าง
             ในเรื่องของอัตลักษณ์ทางการเมือง เราจึงเห็นว่าความขัดแย้งในสามมิตินั้นมีแต่จะทวีความซับซ้อนขึ้น

             นับตั้งแต่ในช่วงของการรณรงค์การเลือกตั้ง มาจนถึงหลังการเลือกตั้ง เห็นได้จากการที่จนถึงวันนี้ ข้อกล่าวหา
             ข่าวปลอม และ การด�าเนินคดีกับพรรคอนาคตใหม่ และ สมาชิกพรรคตั้งแต่หัวหน้าพรรคไปจนถึงกรรมการ

             บริหารพรรคนั้นก็มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                      จึงขอสรุปว่า ปัจจุบันนั้นความขัดแย้งทางสังคมใน 3 มิติที่กล่าวมานั้นมีส่วนส�าคัญที่ท�าให้เกิด

             รอยแยกทางสังคม (cleavage) ที่มีอิทธิพลส�าคัญต่อการไปลงคะแนนเสียงของประชาชนในประเทศไทย

             และโดยเฉพาะในกรณีของกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุด หนาแน่นที่สุด หลากหลายที่สุด
             และ เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และ สังคมของประเทศ ดังที่สะท้อนออกมาจากการด�ารงอยู่
             และการจัดตั้งพรรคใหม่ ๆ สี่พรรคใหญ่ที่ได้อภิปรายไปแล้ว นั่นก็คือ ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย(และไทยรักษาชาติ)

             พลังประชารัฐ และ อนาคตใหม่ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมืองและรอยแยกทางสังคมนี้ไม่ได้ส่งผล

             โดยอัตโนมัติถึงผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะมีอิทธิพลที่ส�าคัญ หากแต่ต้องประกอบเข้าด้วยเรื่องของ
             การเปลี่ยนแปลงกรอบกติกา การเปลี่ยนแปลงของประชากรและชุมชน การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ยุทธศาสตร์
             และกลยุทธของแต่ละพรรคและผู้สมัคร และการทุจริตการเลือกตั้งและการต่อสู้กับการทุจริตเลือกตั้ง

             ดังที่ได้น�าเสนอมา
   538   539   540   541   542   543   544   545   546   547   548