Page 544 - kpiebook63010
P. 544

543







                  4.4.2 ตัวแบบการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562: ยุทธศาสตร์และอารมณ์


                  (strategic-emotional vote)


                          ตามที่ได้อภิปรายเอาไว้ในส่วนทฤษฎีของตัวแบบพฤติกรรมการลงคะแนนเสียง ที่อภิปรายไว้

                  ว่ามี 4 ตัวแบบส�าคัญ กล่าวคือ มีเรื่องของการลงคะแนนเสียงตามอุดมการณ์ ตามนโยบาย ตามอารมณ์
                  และ ตามยุทธศาสตร์ จะพบว่าพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562

                  ในเขตกรุงเทพมหานครมีองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านอย่างครบถ้วน เพราะในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ย่อมมี
                  ผู้ที่เลือกลงคะแนนเสียงจากเงื่อนไขสี่ประการทั้งสิ้น


                          แต่เมื่อเราน�าเอาตัวแปรเรื่องความขัดแย้งใน 3 มิติในฐานะรอยแยกทางสังคมที่สลับซับซ้อนและร้าวลึก

                  ผนวกกับกรอบกติกาใหม่และบรรยากาศก่อนการเลือกตั้งที่อยู่ในสังคมที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยมาเป็นเวลานาน
                  แต่ในขณะเดียวกันก็ได้เห็นความพยายามของนักการเมืองและพรรคการเมืองในการต่อสู้กับโครงสร้างโอกาส
                  ทางการเมืองที่เปิดในบางส่วนและยังปิดในบางส่วน และในขั้นสุดท้ายก็คือพลวัตรของบริบทของเหตุการณ์

                  ทางการเมืองหลาย ๆ เหตุการณ์ที่ได้อภิปรายไปแล้วที่หลายฝ่ายเชื่อว่ามีผลท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ

                  เลือกตั้งในช่วงสุดท้ายก่อนเปิดหีบเลือกตั้งไม่นาน จะพบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้มีการเน้นไปที่การเลือกนโยบาย
                  ระหว่างพรรค โดยเฉพาะในระดับเมืองที่นโยบายคล้าย ๆ กัน และไม่ใช่การเลือกตั้งที่เน้นไปที่อุดมการณ์ในแบบ
                  ที่ชัดแจ้งเพราะแต่ละพรรคมีอุดมการณ์ทั้งที่ต่างกันและคล้ายกัน แต่บรรยากาศของการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วย

                  ความขัดแย้งที่มีหลายมิติ ท�าให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากที่จะเลือกด้วยอุดมการณ์โดยตรง

                  เพราะพรรคที่ตนต้องการเลือกอาจจะไม่ส่งผู้สมัคร หรือ อาจจะส่งแต่ผู้เลือกไม่คิดว่าพรรคที่ตนเคยสนับสนุน
                  จะประสบชัยชนะ


                          การเลือกตั้งในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องของการผสมกันของตัวแบบการเลือกตั้งด้วยอารมณ์และตัวแบบ
                  การเลือกตั้งด้วยยุทธศาสตร์ กล่าวคือในการตัดสินใจเลือกในรอบนี้จะพบเห็นการเคลื่อนย้ายคะแนนส่วนมากออกจาก

                  พรรคประชาธิปัตย์และมีแนวโน้มที่คะแนนจะไหลไปอยู่ที่พรรคพลังประชารัฐ ขณะเดียวกันคะแนนที่พรรคเพื่อไทย

                  เคยมีนั้น มีส่วนที่ลดลงในทุก ๆ เขตแต่คะแนนพรรคอนาคตใหม่มากขึ้น การจับขั้วในการต่อต้านทักษิณของ
                  พรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีความขัดแย้งกันเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่รับการสืบทอดอ�านาจ
                  ขณะที่การจับขั้วในการต่อต้าน คสช.และการท�ารัฐประหาร ของพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ก็ยังมี

                  แนวทางที่ต่างกันในการแก้ไขและท้าทายอ�านาจทางการเมืองของทหาร และการสืบสานระบอบการเมืองแบบเก่า

                  ท�าให้การแยกอุดมการณ์อย่างชัดเจนนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก และในส่วนของนโยบายทางเศรษฐกิจสังคมก็ไม่ได้
                  แตกต่างกันมากนักและไม่มีข้อถกเถียงทางสังคมมากนักในรอบนี้ นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์พบว่า ในความเป็นจริง
                  ในบางพื้นที่ยังมีลักษณะของการ “แบ่งคะแนน” กันในครัวเรือน โดยเลือกพรรคที่ใกล้เคียงกันสองพรรค


                          ในประการสุดท้าย ผลโพลที่ออกมาแต่ละส�านักนั้นมักจะท�านายผิดซึ่งในตามหลักการนั้น

                  มีสองทางเลือกใหญ่ในการอธิบาย หนึ่งก็คือ เพราะมีการทุจริตเลือกตั้งอย่างมโหฬาร หรือ อาจเป็นการเลือกตั้ง
                  ทางอารมณ์
   539   540   541   542   543   544   545   546   547   548   549