Page 28 - kpiebook63007
P. 28

28       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์







                     1.4.3 กำรเก็บรวบรวมข้อมูล



                      การแสวงหาข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งคำาตอบและอธิบายตามวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้
             ให้ความสำาคัญกับบริบทของพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจถึงบริบทพื้นที่ ผู้วิจัยจะใช้ภาษาไทยในการเก็บรวบรวมข้อมูล

             การวิจัยภาคสนามจะมีการลงพื้นที่วิจัยหลายครั้งในช่วง 4 เดือนของการทำาวิจัยภาคสนาม ขั้นแรกผู้วิจัยได้ติดต่อ
             กับหน่วยงานที่เป็นกรณีศึกษาและได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการเพื่อดำาเนินการงาน จากนั้นจะมีการติดตาม

             1) รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ) 2) สัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากกลุ่มที่กำาหนดไว้ล่วงหน้า 3) สัมภาษณ์
             เจาะลึก (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชน) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 4 เดือน ก่อนที่จะทำางานภาคสนามในการเก็บรวบรวม

             ข้อมูล ผู้วิจัยได้ติดต่อผู้ประสานงานระดับพื้นที่ในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขออนุญาตทำางาน โดยความตั้งใจ
             ในสัปดาห์แรก คือ ความช่วยเหลือจากผู้ประสานงานระดับพื้นที่ที่จะสร้างความรู้จักกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ

             โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำาชุมชน นักการเมือง หัวคะแนน และสร้างความคุ้นเคยและความไว้วางใจให้กับกลุ่มผู้ให้
             ข้อมูลสำาคัญนี้ ในช่วงที่ทำาการสำารวจภาคสนาม การสัมภาษณ์จากผู้เข้าร่วมจะถูกรวมไว้ตั้งแต่ต้นเพื่อให้เข้าใจ

             บริบทการเลือกตั้งมากที่สุด อีกทั้งยังได้ไปพุดคุย และปรึกษาหารือเบื้องต้นและขอข้อมูล โดยการสัมภาษณ์
             เจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเลือกตั้งแบบไม่มีโครงสร้างชัดเจนเพื่อทดสอบหาข้อมูลในการตัดสินใจ

             เบื้องต้น เมื่อภายหลังได้ทำาการประมวลข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจสำาหรับที่ใช้เป็นประเด็นสำาหรับศึกษาแล้วจึง
             ตัดสินใจเลือกหน่วย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive

             Sample) เพื่อเป็นกรณีศึกษาตามวัตถุประสงค์ มีประชากรเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูล (Informant) ในการ
             วิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ โดยเลือกจากผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ดังนี้ ผู้ที่ให้ข้อมูล

             (Informants) สัมภาษณ์ตามประเด็นตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
             (In-depth Interview) วิธีนี้เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำาหรับการศึกษาเชิงคุณภาพอย่างละเอียดเพื่ออธิบายถึง

             พฤติกรรมการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถสังเกตคำาพูด อากัปกริยา และสีหน้าของผู้ให้ข้อมูลหลัก
             โดยที่ผู้วิจัยยังสามารถควบคุมบทสนทนาให้อยู่ในบริบทที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังใช้เทคนิคการลงพื้นที่

             ภาคสนาม เพื่อสังเกตการดำาเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ดำาเนินการวิจัยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยได้เฝ้ามอง
             สิ่งที่เกิดขึ้น รับฟังสิ่งที่พูดคุย หรือตั้งคำาถามอีกนัยหนึ่ง คือการเก็บข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับประเด็นที่ทำาการศึกษา

             วิจัย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant observation) คือ ผู้วิจัยเฝ้าสังเกตอยู่ภายนอก
             โดยไม่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำางานในระหว่างการเตรียมการเลือกตั้งงและระหว่างการเลือกตั้ง

             โดยผู้วิจัยจะเริ่มการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ที่ศึกษา สร้างความสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ ดำาเนินการและ
             กำาหนดกรอบการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ บันทึกข้อความใช้เครื่องบันทึกเสียง อ่านเอกสาร บันทึก

             และถอดความ และเขียนบันทึกภาคสนาม


                      ในการเก็บข้อมูลในพื้นที่ที่ศึกษา ผู้วิจัยได้ทำาการสัมภาษณ์ด้วยการถามคำาถามในลักษณะตะล่อม
             (Probe) เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลอย่างละเอียดในทุกมิติของการวิจัย ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นข้อมูลสะท้อน ความคิด

             ความรู้สึก ทัศนคติ ประสบการณ์ มุมมองที่ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญได้สร้างขึ้น นำาไปสู่ความเข้าใจในโลกทัศน์ของ
             ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ คำาพูดหรือคำาบอกเล่าที่เกิดขึ้นจากการให้สัมภาษณ์เหล่านี้บางส่วนได้ผ่านการตีความโดยผู้วิจัย

             บางส่วนเป็นคำาพุดของผู้ให้ข้อมูลสำาคัญโดยตรง ทำาให้ผู้วิจัยได้ทราบแง่มุมต่าง ๆ ของผู้ให้ข้อมูลสำาคัญด้วย
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33