Page 24 - kpiebook63007
P. 24
24 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมือง ขององค์กรและกลุ่ม
ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์
1.2.2 เพื่อศึกษาความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมทางการเมือง ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทน
ราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์
1.2.3 เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่
เข้ามามีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตจังหวัดที่กำาหนด
1.2.4 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง ของประชาชน
และกลุ่มการเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์
1.2.5 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่า
ของการใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์
1.2.6 เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อ
การตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
1.3 ขอบเขตของกำรศึกษำ
1.3.1 ขอบเขตด้ำนเวลำ
ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงระหว่าง
การมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลังจากคณะกรรมการ
เลือกตั้งประกาศรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดกาฬสินธุ์
1.3.2 ขอบเขตประชำกร
ประชากรที่ทำาการศึกษาได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรอิสระ
องค์กรสาธารณะ สื่อมวลชน และองค์กรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับเขต
จังหวัดกาฬสินธุ์ ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
1.3.3 ขอบเขตพื้นที่
พื้นที่เลือกตั้งทุกพื้นที่ ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ จำานวน 5 เขตเลือกตั้ง