Page 26 - kpiebook63007
P. 26

26       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








                       4)   การที่แต่ละพรรคต้องดำาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ มีผลทำาให้นโยบายของแต่ละพรรค

                            ในเขตพื้นที่มีความแตกต่างกันหรือไม่ ในส่วนของนโยบายพรรคที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อ
                            การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ของผู้ลงคะแนนเสียงหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับปัจจัยด้าน

                            ตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรคหรือตัวบุคคลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
                            ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่ากัน

                       5).   สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำาให้ผู้ลง

                            คะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไปจากการเลือกตั้ง
                            ครั้งที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็นพรรคการเมือง หรือ

                            ความนิยมในพรรคการเมือง ยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด





             1.4 วิธีกำรศึกษำวิจัย



                      ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) บนพื้นฐานคติแบบ

             ปรากฏการณ์นิยม (Phenomenology) ที่เชื่อว่าความจริงมีหลากหลายและมีลักษณะจำาเพาะ (ชาย โพธิสิตา,
             2547) เนื่องจากการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่เกิดขึ้น
             ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้งไม่มีข้อมูลบริบทพื้นฐานที่เพียงพอต่อการนำามา

             วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งจำาเป็นต้องใช้การศึกษาแบบนิรนัย (Deductive) การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการศึกษา

             ตามแนวทางแบบอุปนัย (Inductive) เพื่อสร้างข้อมูลพื้นฐานสำาคัญและ ค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม
             การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในปี 2562 ซึ่งจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้อย่างครอบคลุม
             ตามแนวทางการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ


                        ทั้งนี้นักวิจัยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในปรากฏการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลการศึกษาตามแนวทาง

             การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้ง ภายใต้บริบทโครงสร้างทางการเมืองที่มีความเป็นพลวัตร (dynamic) ที่มี
             ลักษณะเป็น การศึกษาเฉพาะกรณี เพื่อให้ทำาความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและสามารถมองภาพได้หลายแง่มุม

             (สุภางค์ จันทวานิช, 2530)เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป
             แบบอุปนัย (Induction) โดยการสร้างข้อสรุปทั่วไปที่มีความเชื่อมโยง จากการสังเกตเชิงประจักษ์ (Empirical

             Observation) (สุภางค์ จันทวานิช, 2530) และใช้การตีความ (Interpretative) เข้ามาวิเคราะห์ผลการศึกษาด้วย

                     1.4.1 หน่วยกำรศึกษำ



                      หน่วยในการศึกษาครั้งนี้มี 2 ระดับกล่าวคือ (1) องค์กรคือหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน
             และพรรคการเมืองในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ระดับปัจเจกบุคคล ได้แก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประชาชนที่มี

             สิทธิ์เลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31