Page 27 - kpiebook63007
P. 27
27
1.4.2 ผู้ที่ให้ข้อมูล (Informants)
การศึกษาครั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งแบบไม่มีโครงสร้างชัดเจน
เพื่อทดสอบหาข้อมูลในการตัดสินใจเบื้องต้น เมื่อภายหลังได้ทำาการประมวลข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจสำาหรับที่ใช้
เป็นประเด็นสำาหรับศึกษาแล้วจึงตัดสินใจเลือกหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตลอดจน ประชาชน
ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) เพื่อเป็นกรณีศึกษาตาม
วัตถุประสงค์ มีประชากรเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูล (Informant) ในการวิจัยครั้งนี้ โดยผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูล
สำาคัญ โดยเลือกจากผู้ที่มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ดังนี้ ผู้ที่ให้ข้อมูล (Informants) ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์
ของการศึกษาวิจัย โดยผู้วิจัยจึงได้เริ่มการสัมภาษณ์จากผู้ที่ให้ข้อมูล (Informants) ของแต่ละองค์กร และ
หน่วยการศึกษาระดับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ทั้งก่อนการเลือกตั้ง ระหว่าง
การเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง ใช้การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) จากนั้นก็สัมภาษณ์
ต่อไปเรื่อย ๆ จนได้ข้อมูลที่อิ่มตัว โดยอาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ได้แก่
เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
กรอบของกฎหมาย เช่น ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และบทบาทของพรรคการเมืองตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ข้อมูลเชิงพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง
พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผลการ
เลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้งในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีการลงพื้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้จัดการ
การเลือกตั้ง กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน
การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม
โดยเป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง
กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง
ช่วงการเลือกตั้ง และช่วยหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร