Page 22 - kpiebook63007
P. 22
22 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
แม้จะมีการจำากัดการแสดงออกทางการเมือง แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ
หลายกลุ่ม ประสบความสำาเร็จในการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองให้กับตนเอง โดยพัฒนาไปเป็น
พรรคการเมือง เช่น กลุ่ม กปปส. ที่กลายไปเป็นพรรครวมพลังประชาชาติไทย กลุ่มของนายไพบูลย์ นิติตะวัน
ที่ได้พัฒนาไปเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป และกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ 4 รัฐมนตรี ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐ
ตลอดจนมีกลุ่มนักกิจกรรมสังคมที่มีความสนใจที่จะตั้งพรรคการเมือง เช่น พรรคอนาคตใหม่ ที่ นายธนาธร
จึงรุ่งเรืองกิจ และ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และการประกาศเปลี่ยนอุดมการณ์เพื่อย้าย
พรรคการเมืองของนักการเมืองหลายคน เช่น นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ นายนคร มาฉิม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
นอกจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว ในส่วนของรัฐบาลเอง ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
จากโครงสร้างดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลให้การเลือกตั้งที่กำาลังจะเกิดขึ้นแตกต่างจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา
ตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2544 โดยสิ้นเชิง เช่น การเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว โดยใช้การนับคะแนนแบบจัดสรรปันส่วนผสม
ยังมีมาตรการใหม่ที่กำาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นต้น (แม้ภายหลังจะมีมาตรา 44 ออกมาสร้างความ
ยืดหยุ่นให้กับมาตรการดังกล่าว) เงื่อนไขใหม่เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมือง หน้าที่และสถานภาพของสมาชิก
พรรคการเมือง และคณะกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งการกำาหนดโทษของพรรคการเมืองไว้สูงมาก การกำาหนด
อัตราค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองในมาตรา 62-83
ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
พร้อมกับการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกติกา หรือ
บทบัญญัติใหม่ที่เกิดขึ้น ที่จะส่งผลต่อโครงสร้างทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองไทย
อีกหลายสถาบัน ซึ่งยังไม่นับถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ ที่ให้บทบาทหน้าที่กับองค์กร
อื่น ๆ มากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่ออำานาจและบทบาทของผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
ด้วยการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางอำานาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองในช่วงระยะเวลา
8 ปี ที่ผ่านมา จึงเป็นที่จับตามองว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ จะสามารถบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา
เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษได้หรือไม่ และจะทำาให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่มีคุณภาพได้หรือไม่
จะทำาให้การปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นจริงหรือไม่ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนจะมีการเปลี่ยนแปลง
ไปอย่างไร ประชาชนมีการเรียนรู้ทางการเมืองมากขึ้นหรือไม่ และภายใต้กรอบกติกาใหม่นี้ ผลของการเลือกตั้ง
ยังจะยืนยันความตั้งมั่นของระบบพรรคการเมือง หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมืองบางพรรคที่เคยก่อร่าง
สร้างตัวมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่