Page 23 - kpiebook63007
P. 23

23








                          ในส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความสำาคัญทางการเมือง เนื่องจาก กลุ่มแนวร่วม

                  ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เมื่อปี 2552 เคยเปิดหมู่บ้านเสื้อแดง ทั้ง 8 อำาเภอ ในจังหวัดกาฬสินธุ์
                  รวมทั้งสิ้นจำานวน 101 หมู่บ้าน ซึ่งยืนยันการตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงไม่ได้ขัดขวางกระบวนการปรองดอง และเป็นเขต

                  ที่เลือกพรรคเพื่อไทย สถิติการเลือกตั้งทั่วไป 3 ปีย้อนหลัง เริ่มตั้งแต่ เมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จังหวัด
                  กาฬสินธุ์ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำานวน 6 คน มีการแบ่งเขต การเลือกตั้งออกเป็น

                  6 เขตเลือกตั้ง ผลการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                  6 คน ทำาให้ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เป็นแกนนำาในการจัดตั้งรัฐบาลดำารงตำาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2

                  ต่อมารัฐบาลที่นำาโดยพรรคไทยรักไทยประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและได้ประกาศยุบสภาผู้แทน
                  ราษฎร ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ก่อนที่ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

                  ภายใน 60 วันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2540 ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งผลการเลือกตั้งในส่วน
                  ของจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย สามารถชนะการเลือกตั้งทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                  6 คน เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นโมฆะ
                  และกำาหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 แต่ได้เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน

                  พ.ศ. 2549 นำาโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งมี
                  พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ โค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

                  ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารในรอบ 15 ปี หลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร ผ่านไป ประเทศไทยได้เข้าสู่เส้นทาง
                  ประชาธิปไตยอีกครั้งภายใต้รัฐธรรมฉบับใหม่ พ.ศ. 2550 และมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่

                  23 ธันวาคม 2550 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคพลังประชาชน ชนะการเลือกตั้งทั้งจังหวัด ได้สมาชิกสภาผู้แทน
                  ราษฎร ทั้งหมด 6 คน และครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ พรรคเพื่อไทย สามารถ

                  ชนะการเลือกตั้งได้ ทั้ง 6 เขตการเลือกตั้ง จากการเลือกตั้งที่ผ่านมาแม้ว่าพรรคไทยรักไทย จะมีการเปลี่ยนแปลง
                  ชื่อพรรคเป็นพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ก็สามารถชนะการเลือกตั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทุกเขต

                  เลือกตั้ง และในปี พ.ศ. 2559 ได้มีการลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมากกว่ารับร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่รับร่างเป็น
                  คะแนนเสียงถึงร้อยละ 54.97 อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่นำาร่องในการ

                  แก้ไขปัญหาความยากจน โดยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงในพื้นที่ จำานวน 2 ครั้ง และได้อนุมัติ
                  งบประมาณในการพัฒนาจำานวนมาก


                           จากข้อมูลดังกล่าวทำาให้พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่น่าศึกษาติดตามการเคลื่อนไหวทาง

                  การเมือง การจับตาของประเด็นทั้งหลายที่กล่าวมานั้น จึงควรจะได้รับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
                  ทางการเมืองในระดับพื้นที่ เพื่อการทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมือง กติกาใหม่ทางการเมือง ซึ่งมีความสำาคัญ

                  เป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป ซึ่งจังหวัดกาฬสินธุ์
                  เป็นจังหวัดที่มีการแข่งขันทางการเมืองสูง ประกอบกับการแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีจำานวนลดลงจากเดิม 6 เขตเลือกตั้ง

                  เหลือ 5 เขตเลือกตั้ง และปรากฏการณ์ทางการเมืองจากผลของรัฐธรรมนูญ 2560 ส่งผลต่อรูปแบบการแข่งขัน
                  ทางการเมืองที่สูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28