Page 29 - kpiebook63007
P. 29

29







                          1.4.4 กำรวิเครำะห์ข้อมูล



                          ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูล และใช้กรอบแนวคิดในการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางหรือกรอบกว้าง ๆ ในการ
                  วิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยทำาการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล และความครบถ้วนของข้อมูล และใช้วิธี

                  การตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของผู้ให้ข้อมูลสำาคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเลือกตั้งทุกวัตถุประสงค์
                  ของการศึกษา และนำาข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลเบื้องต้นโดยการจำาแนกและจัดระบบข้อมูล (Typology and

                  Taxonomy) เป็นการนำาข้อมูลที่ได้นำามาจำาแนกและจัดหมวดหมู่ออกให้เป็นระบบทำาเป็นข้อสรุปย่อย ๆ และ
                  เชื่อมโยงแต่ละส่วนเพื่อหาข้อสรุป (Analytic Induction) ซึ่งจะตอบปัญหาการวิจัย (สุภางค์ จันทวานิช, 2530)

                  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มกระทำาพร้อม ๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่
                  จากกรณีศึกษา นอกจากนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการทำาดัชนีข้อมูล (Indexing) การทำารหัสทั้งในบันทึกภาคสนามและจาก

                  ไฟล์การบันทึกเสียงจากข้อมูล และสร้างข้อสรุปชั่วคราว และการวิเคราะห์องค์ประกอบออกให้เห็นเป็นส่วน ๆ
                  (Componential Analysis) นำาเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ มาวิเคราะห์ (Content Analysis) วิเคราะห์สาเหตุ

                  และผล (Cause and Effect Analysis) ที่เกิดขึ้นนำาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยเปลี่ยนมุมมองการวิเคราะห์
                  ไปยังมุมมองอื่น ๆ (Sociology Imaginary) ผู้วิจัยจะทำาการตรวจสอบความถูกต้องของข้อสรุปอีกครั้ง

                  ทั้งการตรวจสอบแหล่งข้อมูล การตรวจสอบอคติของตัวนักวิจัยเอง การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า






                  1.5 ระยะเวลำท�ำกำรศึกษำ


                          1 กุมภาพันธ์ 2562 – 30 กรกฎาคม 2562






                  1.6 ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ



                          1. ทราบถึงบรรยากาศทั่วไป ความรู้ความเข้าใจ และความเคลื่อนไหวของประชาชน คณะกรรมการ

                  เลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมืองและนักการเมืองในพื้นที่ องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ
                  และหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดกาฬสินธุ์


                          2. ทราบถึงบทบาทและการทำางานของคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับต่าง ๆ รวมถึงปัญหาอุปสรรค

                  และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดกาฬสินธุ์

                          3. ทราบถึงพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงาน

                  ภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดกาฬสินธุ์
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34