Page 33 - kpiebook63007
P. 33
33
2.1.2.5 สภาพพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งนำ้า เป็นที่ราบริมฝั่งแม่น้้าชี ลำานำ้าปาว ลำานำ้าพาน มีความสูงจาก
ระดับนำ้าทะเลปานกลาง 140 – 150 เมตร อยู่ในอำาเภอกมลาไสย บางส่วนของอำาเภอเมืองและอำาเภอยางตลาด
2.1.3 ลักษณะภูมิอำกำศและอุตุนิยมวิทยำ
ภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดกาฬสินธุ์ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ คือ มีอากาศร้อน และค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือน
พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม จังหวัดกาฬสินธุ์มีฝนตกเฉลี่ย 139.4 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิตำ่าสุด 11.5 องศาเซลเซียส
และ อุณหภูมิสูงสุด 42.3 องศาเซลเซียส (ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยากาฬสินธุ์)
2.1.4 โครงสร้ำงพื้นฐำน
2.1.4.1 การขนส่งและการคมนาคม จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการคมนาคมขนส่งติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ
ดังนี้ ทางรถไฟ ต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถโดยสารจากจังหวัดขอนแก่นเข้าจังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง
ประมาณ 77 กิโลเมตร ทางอากาศ ต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น แล้วต่อรถโดยสารจากจังหวัดขอนแก่นเข้าจังหวัด
กาฬสินธุ์ ระยะทางประมาณ 83 กิโลเมตร ทางรถยนต์ สามารถใช้เส้นทางติดต่อทั้งภายในจังหวัดและจังหวัด
ใกล้เคียง ตลอดจนถึงกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวก
2.1.4.2 ด้านสาธารณูปโภค การประปา มีกิจการประปาทั้งหมด 1 แห่ง ดำาเนินการโดยการประปา
ส่วนภูมิภาคจังหวัดกาฬสินธุ์ การไปรษณีย์ ให้บริการด้านสื่อสารไปรษณียภัณฑ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.2 บริบททั่วไปเกี่ยวกับกำรเลือกตั้ง
จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 เขต (สำาหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562) และมี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 5 คน จากทั้งหมด 350 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย
หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็น “การเลือกตั้ง
ทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย” โดยขณะนั้นกาฬสินธุ์ยังเป็นเพียงอำาเภอหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม
ปี พ.ศ. 2490 กาฬสินธุ์ยกฐานะขึ้นมาเป็นจังหวัด และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2491 จังหวัดกาฬสินธุ์
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ นายกว้าง ทองทวี นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรมากครั้งที่สุด คือ 7 สมัย ได้แก่ นายสังข์ทอง ศรีธเรศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีคนแรกของจังหวัด
กาฬสินธุ์ คือ นางสมพงษ์ อยู่หุ่น (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512) ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด คือ
ศรีธเรศ (3 คน) ได้แก่ นายสังข์ทอง ศรีธเรศ นางบุญรื่น ศรีธเรศ และนายนิพนธ์ ศรีธเรศ