Page 103 - kpiebook63001
P. 103
85
ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในภาพรวมมีสถานการณ์ที่เรียบร้อย ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ดมีจุดเลือกตั้ง
ล่วงหน้านอกเขตอยู่ 7 แห่ง อยู่ตามที่ทำการเขตที่ทำการของแต่ละเขต ส่วนเขตหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต
มี 20 หน่วย กระจายตามที่ว่าการตามอำเภอต่างๆ โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าตามที่ลงทะเบียนไว้ครบ
1
2
ร้อยละ 100 ซึ่งไม่พบปัญหาการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งแต่อย่างใด
แผนภาพที่ 4.3 แสดงจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
ก่อนวันเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้งและนอกราชอาณาจักร
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ทั้งนี้ ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในอัตราที่ใกล้เคียงกัน ดังแผนภาพที่
4.3 ซึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็นผลมาจากปัจจัยด้าน
สถานการณ์ภาพรวมของประเทศที่ประชาชนต้องการการเลือกตั้งภายหลังจากรัฐประหารที่ทำให้ว่างเว้นจาก
การเลือกตั้งในทุกระดับมาเป็นเวลานานและมีผู้ลงสมัครเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ประกอบกับผลจากการจัด
3
เวทีปราศรัยใหญ่ของแกนนำพรรคการเมืองและการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรคอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการขยายตัวของการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ทำให้เห็นภาพของการตื่นตัวของประชาชนที่ให้ความสนใจ
4
ต่อการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ยังพบว่า
ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้ง ยังเป็นผลจากอิทธิพลเชิงพื้นที่ซึ่งมีประสบการณ์
การต่อสู้ทางการเมือง ความไม่พอใจต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
1 “เลือกตั้งล่วงหน้าประชาชนตื่นตัวออกมาใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง”, สืบค้นจาก https://www.77jowo.com/contents/
120796 (17 มีนาคม 2562).
2 “ร้อยเอ็ดสุดยอด ใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าเต็ม 100% ขณะที่ขอนแก่นก็สูงถึง 90%”, สืบค้นจาก https://
www.thaipost.net/main/detail/31564 (20 มีนาคม 2562).
3 เลิศบุศย์ กองทอง, รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (1 พฤษภาคม 2562).
4 สุรพงษ์ แสงเรณู, อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์
(1 พฤษภาคม 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด