Page 100 - kpiebook63001
P. 100

82






               เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเคยทำงานร่วมกันคนเสื้อแดงในพื้นที่ รวมไปถึงผู้สมัคร

               จากพรรคอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ยังไม่มีความโดดเด่นหรือมีกระแสความนิยมในพื้นที่ที่มี
               ความโดดเด่นมากนัก


                     เช่นเดียวกับเขตเลือกตั้งที่ 6 ซึ่งนายกิตติ สมทรัพย์  ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภา
               ผู้แทนราษฎรในเขตนี้ 4 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทยเป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ผู้สมัครที่ได้รับ

               การจับตามองในเขตนี้ ก็คือ นายอนิวรรตน์ วรเชษฐ์ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภา
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และเป็นบุตรชายของนายเวียง วรเชษฐ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               พรรคเพื่อไทย แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ

               ด้านเขตเลือกตั้งที่ 7 ซึ่งนายศักดา คงเพชร ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ได้รับการเลือกตั้งมา
               ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาล

               นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และแม้ว่าในช่วงของการรัฐประหารจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่ก็ยัง
               คงเป็นนักการเมืองที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ ในขณะที่ นายชัชวาล แพทยาไทย ผู้สมัครสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
               ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มของสุชาติ ตันเจริญก็ได้รับความสนใจในฐานะผู้สมัครซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่ทำ

               กิจกรรมทางสังคมในพื้นที่ 94

                     กล่าวได้ว่า การจัดแบ่งระดับการแข่งขันดังแผนภาพที่ 3.7 ชี้ให้เห็นว่าแม้การเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผู้สมัคร
               และพรรคการเมืองเป็นจำนวนมาก แต่ความโดดเด่นทั้งในการได้รับความสนใจและการแสดงบทบาทในการ

               รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งยังคงเป็นบทบาทนำของผู้สมัครจากพรรคการเมืองขนาดใหญ่และผู้สมัครที่มีฐานเสียง
               ดั้งเดิมในพื้นที่ ทั้งนี้ การนำเสนอของแผนภาพข้างต้นยังเป็นประโยชน์ต่อการคาดการณ์และประเมิน

               สถานการณ์การแข่งขัน รวมถึงแนวโน้มผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับยังนำไปสู่
               การทำความเข้าใจต่อการรักษา สร้างและขยายฐานความนิยมของผู้สมัครที่มีความโดดเด่น รวมถึงความจงรัก
               ภักดีของผู้ลงคะแนนเสียงที่มีต่อพรรคการเมืองที่เคยมีบทบาทนำในแต่ละเขตเลือกตั้ง


                     อย่างไรก็ดี นอกจากความเคลื่อนไหวก่อนการเลือกตั้งและการคาดการณ์ถึงโอกาสในการได้รับ
               การเลือกตั้งของผู้สมัครที่มีความโดดเด่นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ในด้านความเคลื่อนไหวและบทบาทของทหาร

               หรือกองกำลังรักษาความสงบในพื้นที่ก่อนการเลือกตั้ง ได้รับการกล่าวถึงทั้งในรูปแบบของการเข้ามาเยี่ยมพื้นที่
               โดยตรงในการเข้ามาตรวจสอบข้อร้องเรียน การเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ รวมไปถึงสอบถามความคิดเห็น

               ของประชาชนในพื้นที่เรื่องความนิยมที่มีต่อผู้สมัครและความนิยมต่อรัฐบาล และการเข้ามาสำรวจ
               ความเคลื่อนไหวในพื้นที่ทางอ้อมในรูปของโครงการพัฒนาต่างๆ  ตลอดจนบทบาทในการติดตามและจับตาดู
                                                                    95
               การหาเสียงของผู้สมัครบางพรรคการเมืองในพื้นที่ เช่น มีการบันทึกภาพและวีดีโอในขณะปราศรัยหรือลงพื้นที่

               เพื่อพบปะประชาชน รวมไปถึงการมาเฝ้าระวังในพื้นที่บริเวณใกล้กับสำนักงานของผู้สมัครในช่วงวันก่อน
               ลงคะแนน เป็นต้น



                     94   “บิ๊ก” เลือดใหม่ พปชร.”ขอลงส.ส.”เมืองเกินร้อย” , สืบค้นจาก https://www.nationweekend.com/news/55408
               (20 กุมภาพันธ์ 2562)

                     95   สุรพงษ์ แสงเรณู, อ้างแล้ว.






                     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105