Page 99 - kpiebook63001
P. 99
81
ลักษณะที่ 2 เป็นการแข่งขันระหว่างผู้สมัคร 2 พรรค คือ พรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ
ได้แก่ เขต 2,3 และ 4 โดยเขตเลือกตั้งที่ 2 นายฉลาด ขามช่วง จากพรรคเพื่อไทย เป็นผู้สมัครที่เป็น
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งมาแล้ว 7 สมัยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ทั้งยังเป็น
ทนายความซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน แต่ในขณะเดียวกันนางรัชนี พลซื่อ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ
ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย และเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด อย่างไรก็ดี
แม้นางรัชนีจะเคยแพ้การเลือกตั้งทั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการเลือกตั้งนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดในปี พ.ศ. 2551 แต่ก็ยังคงทำงานในพื้นที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับการทำหน้าที่ในตำแหน่ง
“หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด” ทำให้ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้รับ
ความนิยมจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งยังมีฐานเสียงจากกลุ่มสตรีแม่บ้าน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน 92
ส่วนพื้นที่เขต 3 ที่ได้รับการประเมินว่าเป็นเขตที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้นมากที่สุด เนื่องจากเป็น
การแข่งขันกันระหว่างนายนิรมิต สุจารี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย และนายเอกภาพ
พลซื่อ จากพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตเลขาธิการพรรคเสรีธรรม และ
เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองในฐานะหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายเอกภาพถือเป็นผู้สมัครที่มี
ความโดดเด่นและถือว่าเป็นความหวังของพรรคพลังประชารัฐว่าจะได้รับการเลือกตั้ง ทั้งยังเป็นประธาน
ยุทธศาสตร์ของร้อยเอ็ด และวางแผนการหาเสียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพรรคพลังประชารัฐ
ด้านเขตเลือกตั้งที่ 4 เป็นการแข่งขันกันระหว่างนายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคเพื่อไทย กับ นางสาวตวงรัตน์ วงศ์เวไนย์ อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเคยเป็น
ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนลำดับสองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ดี แม้จะแพ้
การเลือกตั้ง แต่ตวงรัตน์ ยังคงมีบทบาทในการทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยมีบทบาทในการผลักดันโครงการ
ที่เกื้อหนุน สร้างอาชีพของกลุ่มสตรี ตลอดจนรวมถึงการเข้าไปผลักดัน เพิ่มเงินเดือน และเงินสวัสดิการต่างๆ
ของกลุ่มสตรีให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นผู้สมัครที่ได้รับการกล่าวถึงในการลงพื้นที่ทุกหมู่บ้าน 93
ลักษณะที่ 3 เป็นเขตเลือกตั้งที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยยังมีฐานเสียงที่เข้มข้น หรือเป็นการแข่งขัน
กับผู้สมัครหน้าใหม่ซึ่งยังไม่มีฐานเสียงที่เข้มแข็งพอ ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 5 ผู้สมัครที่มีความโดดเด่น คือ จิราพร
สินธุไพร ซึ่งเป็นบุตรสาวของนายนิสิต และ นางเอมอร สินธุไพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
ทั้งยังเป็นแกนนำคนสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดง ในนามแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช)
ถือว่าเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่มีฐานเสียงคะแนนนิยมเดิมของครอบครัวซึ่งยังได้รับความนิยมในพื้นที่
อย่างเหนียวแน่น ในขณะที่ผู้สมัครจากพรรคอื่น ๆ เช่น นาย เฉลิมศักดิ์ แสนปาง สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
92 “รัชนี พลซื่อ ชิงเก้าอี้ร้อยเอ็ด เขต 2”, สืบค้นจาก https://www.amarintv.com/news-update/election2562/face-
to-face/news-17401/343724/ (28 กุมภาพันธ์ 2562).
93 “ศึกล้างตา โอ๋น้อย-นิรันดร์ เขต 4 เมืองร้อยเกิน”, สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/scoop/362170
(12 กุมภาพันธ์ 2562) และ “บ่ได้ยินเสียง พาทักษิณกลับบ้าน สมรภูมิที่เปลี่ยนไป”, สืบค้นจาก https://www.msn.com/th-th/
news/national/ /บ่ได้ยินเสียง-พาทักษิณกลับบ้าน-สมรภูมิที่เปลี่ยนไป/ar-BBUe3P7(1 มีนาคม 2562).
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด