Page 98 - kpiebook63001
P. 98
80
แผนภาพที่ 3.8 แสดงจำนวนพรรคการเมืองที่มีความโดดเด่นและระดับความเข้มข้นในการแข่งขัน
ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2562
ลักษณะที่ 1 การแข่งขันระหว่างผู้สมัคร 3 พรรค ได้แก่ เขต 1 ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่มีประชากร
มากที่สุด และถูกจับตามองว่าเป็นเขตเลือกตั้งที่มีการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครที่มีความโดดเด่นจาก
3 พรรคการเมือง ซึ่งล้วนแล้วแต่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตนี้ ได้แก่ นายอนุรักษ์ จุรีมาศ
พรรคชาติไทยพัฒนา นายวราวงษ์ พันธุ์ศิลา จากพรรคเพื่อไทย และนายสานิต ว่องสัธนพงษ์ ซึ่งเป็นผู้สมัคร
จากพรรคพลังประชารัฐ ทั้งนี้ผู้สมัครทั้ง 3 คน เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
ร้อยเอ็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายอนุรักษ์ จุรีมาศ ที่แม้จะเคยแพ้การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 ให้แก่ นายสานิต
ว่องสัธนพงษ์ ซึ่งสังกัดพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น และกลับมาชนะการเลือกตั้งได้อีกครั้งในการเลือกตั้ง
พ.ศ. 2548 อย่างไรก็ดีต่อมาในปี พ.ศ. 2551 นายอนุรักษ์ ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็น
90
กรรมการบริหารพรรคชาติไทย ในขณะที่นายวราวงษ์ พันธุ์ศิลา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และในปี พ.ศ. 2554 ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง
ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้บรรยากาศของการหาเสียงในพื้นที่เขต 1 ปรากฏภาพของการแข่งขันที่โดดเด่น
ระหว่างผู้สมัครที่เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 คนที่กล่าวมา โดยผู้สมัครจากทั้ง 3 พรรค
ต่างลงพื้นที่ในการหาเสียง ตลอดจนการจัดเวทีปราศรัยทั้งระดับหมู่บ้านและเวทีปราศรัยใหญ่ รวมไปถึงการใช้
ระบบหัวคะแนนเพื่อสนับสนุนการหาเสียงในพื้นที่ 91
90 วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทย โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่าพรรค
มีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
91 โกวิท อ่อนประทุม, อ้างแล้ว.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด