Page 106 - kpiebook63001
P. 106
88
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกที่มี
11
ศักยภาพสูงมากในการรณรงค์ถึงในระดับครัวเรือนก็ตาม หากแต่การทำความเข้าใจต่อวิธีการลงคะแนนยังไม่ได้
รับการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจมากนัก รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ของ กกต.จังหวัด ที่ได้ดำเนินการ
ลงพื้นที่ในแต่ละอำเภอ โดยเน้นตำบลที่เป็นศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) แต่ยังมี
ประชาชนในหมู่บ้านอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เข้าไปร่วมด้วยประกอบกับบุคลากรของ กกต.จังหวัด มีจำนวนน้อย 12
โดยในช่วงเวลาของการรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการหาเสียงของผู้สมัครที่เกิดขึ้นนั้น
พบว่า ประชาชนได้ทราบถึงวิธีการลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งแบบใหม่จากการอธิบายของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้สมัครที่ลงมาหาเสียงในพื้นที่ ซึ่งมีบทบาทนำในการอธิบายและสร้างความเข้าใจได้
มากกว่าการประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในส่วนกลางและ กกต.จังหวัด อีกทั้งยังมีการตั้ง
ข้อสังเกตว่า การนำเสนอวิธีการและคำแนะนำในเรื่องวิธีการลงคะแนนยังถูกนำเสนอน้อยมากในสถานีโทรทัศน์
13
และสื่อกระแสหลัก นอกจากนี้ยังปรากฏให้เห็นว่าบางหน่วยเลือกตั้งยังไม่นำชื่อของผู้สมัครจาก
14
พรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้น
4.2 ผลการเลือกตั้งและแบบแผนในการลงคะแนนเลือก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อจำแนกเป็นคะแนนและจำนวนสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบเขตเลือกตั้งที่ได้รับการเลือกตั้ง โดยพิจารณาจากพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครได้รับเลือกตั้ง
ในเขตเลือกตั้งและมีคะแนนสูงสุด 4 อันดับแรก ดังตารางที่ 4.1 และแผนภาพที่ 4.6 พบว่า พรรคเพื่อไทย
ได้รับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตด้วยจำนวนที่มากที่สุด คือ จำนวน 6 เขต จากทั้งหมด 7 เขตเลือกตั้ง คิดเป็น
คะแนนรวมที่ได้ในจังหวัดเป็นจำนวน 321,908 คะแนน หรือคิดเป็น ร้อยละ 47.20 ซึ่งมีระดับคะแนน
ที่ใกล้เคียงแต่มีจำนวนที่น้อยกว่าผลคะแนนเสียงที่ไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญในการลงประชามติ
พ.ศ. 2559 ซึ่งมีจำนวน 332,587 คะแนน และไม่เห็นชอบต่อประเด็น คำถามเพิ่มเติม จำนวน 333,023 คน
ดังที่นำเสนอในบทที่ 2
11 “ร้อยเอ็ดปลื้ม ลต. ล่วงหน้า 97 % ห่วงบัตรเสีย”, สืบค้นจาก https://www.innnews.co.th/regional-news/
news_349454/ (21มีนาคม 2562).
12 จิรวรรณ สิทธิศักดิ์, ประธานผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด, สัมภาษณ์ (31 พฤษภาคม 2562).
13 โกวิท อ่อนประทุม, ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1 พรรคพลเมืองไทย, สัมภาษณ์ (20 พฤษภาคม
2562) , สนทนากลุ่มผู้นำชุมชน (16 เมษายน 2562) และ ชฎาพร คำศรียา,ผู้ประสานงาน We Watch ภาคอีสานตอนกลาง, สัมภาษณ์
(4 พฤษภาคม 2562).
14 ชฎาพร คำศรียา, อ้างแล้ว.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด