Page 109 - kpiebook63001
P. 109
91
จำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขต สัดส่วน
พรรคการเมือง คะแนนที่ได้รับ
ที่ได้รับการเลือกตั้ง (ร้อยละ)
รวมใจไทย 0 108 0.02
พลังรัก 0 100 0.01
ประชากรไทย 0 31 0.00
มหาชน 0 0 0.00
รักท้องถิ่นไทย 0 0 0.00
เพื่อนไทย 0 0 0.00
พลังแรงงานไทย 0 0 0.00
ประชาไทย 0 0 0.00
ที่มา : “ร้อยเอ็ด - เลือกตั้ง 2562 โดย Voice TV”, สืบค้นจาก https://election.voicetv.co.th/score/province/ร้อยเอ็ด
(31 พฤษภาคม 2562).
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเข้มข้นในการแข่งขันในช่วงเวลาก่อนวันลงคะแนน
เลือกตั้ง ดังที่นำเสนอในบทที่ 3 แผนภาพที่ 3.7 กับระดับของการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน (voting
turnout) ดังแผนภาพที่ 4.6 พบว่า มีแนวโน้มสอดคล้องกับสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระดับ
การแข่งขันในเขตเลือกตั้งกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนที่พบในงานวิจัยโดยทั่วไปที่เชื่อว่า ในเขต
เลือกตั้งที่มีระดับการแข่งขันเข้มข้นจะมีอัตราการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งที่สูงขึ้น ตรงกันข้ามกับเขตเลือกตั้ง
ที่มีอัตราการแข่งขันต่ำซึ่งจะมีอัตราการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนต่ำลง
15
ในกรณีของจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า เขตเลือกตั้งที่ 5 เป็นเขตเลือกตั้งที่มีอัตราของผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ต่ำที่สุด คือ ร้อยละ 65.78 ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครโดดเด่นของผู้สมัครจากพรรคการเมืองเดียวทั้งในเชิง
ของฐานเสียงเดิมและความนิยมต่อพรรคดังที่กล่าวมา เช่นเดียวกับเขตเลือกตั้งที่ 7 ซึ่งมีอัตราผู้ออกมาใช้สิทธิ
เลือกตั้งร้อยละ 66.85 ในขณะที่เขตที่มีระดับการแข่งขันสูง เช่น เขตเลือกตั้งที่ 2 , 3 และ 4 ซึ่งเป็นการแข่งขัน
กันระหว่างผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ไม่มีอัตราการออกมาใช้สิทธิที่แตกต่างกันมากนัก ต่างจาก
อัตราการมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง
สูงที่สุด คือ ร้อยละ 77.86 ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งที่เป็นการแข่งขันในการหาเสียงระหว่างผู้สมัครจาก
3 พรรคการเมืองใหญ่และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้ง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า นอกจากระดับ
15 ดูคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของ
ประชาชน ได้ใน Joel Jordan, “The Effect of Electoral Competitiveness on Voter Turnout” (2017). WWU Honors
Program Senior Projects 43, Retrieved from URL https://cedar.wwu.edu/wwu_honors/43 (30 August 2019) และ
Pippa Norris, (2004), Electoral Engineering: Voting Rules and Political Behavior, (New York : Cambridge
University Press), pp.151-176.
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด