Page 158 - kpiebook62008
P. 158

๑๒๗

                                                                ๒๑๓
               สิทธิดังกล่าวนั้นต้องมีเป้าหมายและจุดเชื่อมโยงกับชุมชน”  เป็นการประกาศถึงความไม่ยอมจำนนต่อประเทศ
               อังกฤษซึ่งในขณะนั้นเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมที่จะมาจัดเก็บภาษีจากประชาชนของชาวอเมริกัน (ขณะนั้นยังเป็น

               อาณานิคมบริติชอเมริกา ยังมิได้เป็นสหรัฐอเมริกา) ซึ่งความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นมาสักพักแล้วก่อนหน้านี้ จากความ

               พยายามของอังกฤษที่จะเก็บภาษีจากการนำเข้ากากน้ำตาลจากต่างประเทศ อันส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

               ร้ายแรง และการออกพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติและประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาใน

               วันที่ ๔ กรกฎาคม ปี ค.ศ. ๑๗๗๖




               ๒๕๔.  เมื่อดินแดนอาณานิคมบริติชอเมริกาได้ประกาศอิสรภาพ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ปี ค.ศ. ๑๗๗๖ แล้ว ได้

               วางหลักไม่มีภาษี หากไม่มีผู้แทนเอาไว้ในคำประกาศอิสรภาพ วันที่ ๔ กรกฎาคม ปี ค.ศ. ๑๗๗๖ (The
               Declaration of Independence) อีกด้วย โดยได้กล่าวถึงการที่ประเทศอังกฤษได้ปกครองอาณานิคมบริติช

               อเมริกาด้วยความกดขี่ข่มเหง อีกทั้ง รัฐสภาอังกฤษยังปฏิเสธการตรากฎหมายที่จะใช้บังคับกับคนอเมริกันเพื่อ

               ประโยชน์และความจำเป็นต่อการดำรงชีพที่ดีอีกด้วย กอปรกับการจัดเก็บภาษีจากชาวอเมริกันโดยมิได้รับความ

               ยินยอมจากชาวอเมริกัน ดังนั้น จึงขอประกาศตนเป็นรัฐอิสระ คือ สหรัฐอเมริกา จะเห็นได้จากคำประกาศ

               อิสรภาพดังกล่าวนั้นได้แสดงถึงความไม่พอใจอย่างมากต่อการที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของประเทศอังกฤษ และใน

               เนื้อความนั้นได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการตรากฎหมายเป็นอย่างมากเนื่องจากอาณานิคมบริติชอเมริกาได้รับ

               ผลกระทบโดยตรงกับการออกกฎหมายของประเทศอังกฤษโดยไม่มีผู้แทนของตนไปปกป้องและคุ้มครองสิทธิของ
               ชาวอเมริกันในรัฐสภาอังกฤษ ยิ่งไปกว่านั้น ยังถูกเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรมจากผู้มีอำนาจตรากฎหมายจัดเก็บด้วย

               จึงนำมาสู่ประกาศอิสรภาพของอเมริกา และทำให้หลักไม่มีภาษี หากไม่มีผู้แทนนั้นเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่

                                                                      ๒๑๔
               จะต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองสิทธิของประชาชนทุกคน



               ๒๕๕.  สหรัฐอเมริกาได้บัญญัติรับรองหลักการเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของภาษีไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง

               สหรัฐอเมริกา (Constitution of the United States) ซึ่งได้มีการลงนาม เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ปี ค.ศ. ๑๗๘๗

               และมีผลบังคับใช้ ปี ค.ศ. ๑๗๘๙ โดยในมาตรา ๑ ได้วางหลักไว้ว่าอำนาจนิติบัญญัติเป็นของสภาคองเกรส (the


               ๒๑๓  Section 6 of The Virginia Declaration of Rights, May 12, 1776

               ๒๑๔  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของภาษีโดยองค์กรตุลาการในประเทศไทย.
               รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ จัดทำโดยสุปรียา แก้วละเอียด. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์., ๒๕๕๘. หน้า

               ๖๓ - ๖๔.
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163