Page 97 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 97

การประชุมวิชาการ
                สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                     อย่างไรก็ตาม แม้พรรคการเมืองจะเปรียบเป็นดั่งสินค้า แต่พรรคการเมืองก็มีความแตกต่าง

               จากสินค้าทั่วไปอยู่บางประการ เช่น หากประชาชนต้องการซื้อพรรคการเมืองก็ไม่จำเป็นต้องใช้
               เงินเพื่อซื้อพรรคการเมืองเช่นเดียวกับการซื้อสินค้าทั่วไป เนื่องจากการซื้อพรรคการเมืองของ
               ประชาชนเป็นไปในลักษณะของการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน
               คะแนนเสียงกับสิ่งที่พรรคการเมืองนำเสนอ (Newman, 2021) เช่น นโยบายของ

               พรรคการเมือง หรือคุณค่าความหมายของพรรคการเมืองที่สะท้อนกลับสู่ความรู้สึกของ
               ประชาชน ตัวอย่างเช่น พรรคประชาธิปัตย์มีความซื่อสัตย์สุจริต พรรคอนาคตใหม่มีความเป็น
               คนรุ่นใหม่ และพรรคไทยรักไทยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (ชนกนาถ พูลสวัสดิ์, 2555;
               พันธกานต์ ทานนท์, 2563; แพรวา ศรีชำนิ, 2557)


                     การที่ประชาชนบริโภคคุณค่าความหมายของพรรคการเมือง ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกับ
               การบริโภคคุณค่าความหมายที่เกิดกับสินค้าทั่วไป เช่น การบริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ในประเทศ
               ไทย มักเกิดจากความต้องการที่จะบริโภคคุณค่าความหมายของความเป็นอเมริกัน เพื่อนำไปสู่
               การแสดงสถานะทางสังคม ส่วนการขับรถยนต์ Tesla ก็เพื่อต้องการบริโภคคุณค่าความหมาย

               ของความโก้หรูและน่าตื่นเต้น ส่วนการสวมใส่เสื้อผ้า Vatanika ก็เพื่อต้องการบริโภคคุณค่า
               ความหมายของความมีมาตรฐาน มีความสามารถ และความหรูหรา (ศรัณย์ อมาตยกุล,
               ก่อพงษ์ พลโยราช, & วาลี ปรีชาปัญญากุล, 2560; Dvornechcuck, 2021; ศรัณย์ อมาตยกุล,
               วิรัลพัชร มงคลอำนวย, & ก่อพงษ์ พลโยราช, 2561)


                     จะสังเกตเห็นได้ว่า คุณค่าความหมายที่ปรากฏขึ้นในผลิตภัณฑ์ทั่วไปนั้นค่อนข้างมี
               ความหลากหลาย นอกจากนั้นก็ยังมีความซับซ้อนที่สามารถเชื่อมโยงสู่การแสดงสถานะทาง
               สังคมได้ ดังนั้น การคาดการณ์คุณค่าความหมายจึงไม่อาจอาศัยการคาดคะเนที่ไร้ทิศทาง

               แต่ควรอธิบายด้วยการนำแนวคิดที่มีศักยภาพในการอธิบายมาใช้ โดยแนวคิดที่สามารถอธิบาย
               ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคได้ดีแนวคิดหนึ่ง คือ การบริโภคเชิงสัญญะ
               (consumption of signs) ที่ว่าด้วยการบริโภคความหมายในสังคม

                     การบริโภคเชิงสัญญะเป็นแนวคิดทางสังคมวิทยาที่ว่าด้วยการบริโภค อันเกิดจากการให้

               คุณค่าความหมายแก่ผลิตภัณฑ์ การนำแนวคิดนี้มาใช้วิเคราะห์พรรคการเมืองจะช่วยให้
               สามารถทำความเข้าใจพรรคการเมืองจากแง่มุมใหม่ๆ ที่แตกต่างจากการทำความเข้าใจโดยใช้
               มุมมองกระแสหลักทางรัฐศาสตร์ได้ นอกจากนี้ การอธิบายปรากฏการณ์โดยใช้การบูรณาการ
               ข้ามศาสตร์ (transdisciplinarity) จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการอธิบายปรากฎการณ์ได้ชัดเจน
               มากยิ่งขึ้น (Rigolot, 2020)
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   พรรคการเมืองในภาพรวมโดยไม่ได้เจาะจงวิเคราะห์พรรคหนึ่งพรรคใดเป็นพิเศษ ซึ่งแนวคิด

                     บทความนี้นำแนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะอันเป็นมุมมองทางสังคมวิทยา มาใช้วิเคราะห์


               การบริโภคเชิงสัญญะจะนำเสนอมุมมองที่แตกต่างจากมุมมองกระแสหลักทางรัฐศาสตร์

               ที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์พรรคการเมืองเพื่อให้เห็นสิ่งที่แตกต่างออกไปได้ อีกทั้งบทความนี้
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102