Page 94 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 94
พรรคการเมืองไทย ในมุมมองสังคมวิทยา
จากแนวคิดการบริโภคเชิงสัญญะ
Thai Political Parties from the Sociological
Perspective of Sign Consumption
ศรัณย์ อมาตยกุล *
ก่อพงษ์ พลโยราช**
บทคัดย่อ
การศึกษาเกี่ยวกับพรรคการเมืองในประเทศไทย เกือบทั้งหมด
เป็นการอธิบายจากทัศนะทางรัฐศาสตร์ ในขณะที่แทบไม่พบการศึกษา
พรรคการเมืองจากทัศนะของศาสตร์อื่นเลย ทั้งที่จริงแล้วเนื้อหาที่เกี่ยวกับ
พรรคการเมืองนั้นสามารถอธิบายโดยใช้ความรู้จากศาสตร์ที่แตกต่าง
ออกไปได้ บทความนี้จึงศึกษาพรรคการเมืองโดยใช้แนวคิดการบริโภค
เชิงสัญญะซึ่งเป็นทัศนะทางสังคมวิทยา มาปรับใช้เพื่อทำความเข้าใจ
พรรคการเมืองไทย ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์พรรคการเมือง
ทั้งจากทัศนะและศาสตร์ที่แตกต่างกัน สามารถอธิบายพรรคการเมือง
ในแง่มุมต่าง ๆ ได้แตกต่างออกไปจากมุมมองเดิมที่มักปรากฏแต่เฉพาะ
ในทางรัฐศาสตร์เท่านั้น ผลการศึกษานี้จึงเป็นตัวอย่างของการใช้
กระบวนทัศน์การค้นหาความจริงแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ เพื่ออธิบาย
พรรคการเมือง หรือแม้แต่ปรากฏการณ์อื่น ๆ ได้
คำสำคัญ: พรรคการเมือง การบริโภคเชิงสัญญะ สังคมวิทยา
* ว่าที่ร้อยเอก ดร.ศรัณย์ อมาตยกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อีเมล์ [email protected]
** ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ก่อพงษ์ พลโยราช คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น อีเมล์ [email protected]