Page 295 - kpi9942
P. 295
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
1) ทุนด้านงบประมาณ
การบริหารงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์เป็นการจัดทำ
งบประมาณแบบเกินดุล (รายรับมากกว่ารายจ่าย) การบริหารปีงบประมาณ 2549 เกินดุล
12,943,411.56 บาท และการบริหารปีงบประมาณ 2550 เกินดุล 97,112,187.94 บาท ทำให้
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มียอดสะสมที่นำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น โดย
เฉพาะอย่างยิ่งโครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาบ้านเกิดสุรินทร์ซึ่งใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้การสร้างวินัยทางการคลังส่งผลดีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
สุรินทร์ ซึ่งไม่มีภาระเงินกู้ ทำให้ฐานะการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มั่นคงพอ
สมควร
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มีกลยุทธ์และวิธีการในการพัฒนาขีดสมรรถนะ
ทางการคลัง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบจัดเก็บภาษี จนได้รับรางวัลความพยายามการ
จัดเก็บภาษี 2 ปีซ้อน จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คือทั้งปี 2547 และ 2548 สำหรับ
ปัญหาด้านการบริหารงบประมาณที่พบ คือ งบประมาณที่นำมาบริหารจัดการไม่เพียงพอ เพราะมี
ภารกิจและปัญหาที่ต้องแก้ไขเป็นจำนวนมาก แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ การไปดึงงบประมาณ
จากข้างนอกมาสนับสนุนการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด หน่วยงานใดที่เปิดโอกาส
ให้ของบประมาณได้ ทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ก็ดำเนินเรื่องขอดึงงบประมาณจาก
ทุกหน่วยงาน
2) ทุนด้านทรัพยากรมนุษย์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มีอัตรากำลังแยกตามหน่วยงานทั้งสิ้น 99 คน
ประกอบด้วย สำนักปลัด 18 คน กองกิจการสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัด 10 คน กองแผน
และงบประมาณ 13 คน กองคลัง 14 คน กองช่าง 38 คน กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3 คน และหน่วยตรวจสอบภายใน 1 คน บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์มีการศึกษา
สูงสุดอยู่ที่ปริญญาตรี จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 64.65 ในขณะที่กลุ่มรองลงลำดับที่ 2 ได้แก่
ระดับอนุปริญญา จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 16.16 กลุ่มที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทเพียง
11 คน คิดเป็นร้อยละ 11.11 ดังนั้นพอจะอนุมานได้ว่าวุฒิการศึกษาของบุคลากรองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสุรินทร์ไม่สูงนัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรที่จะพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
2 0
สถาบันพระปกเกล้า