Page 300 - kpi9942
P. 300

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์    จ.สุรินทร์



              ของช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติ เป็นทรัพยากรสำคัญทางด้านการท่องเที่ยว และสร้างชื่อเสียงให้กับ
              จังหวัดสุรินทร์ และประเทศไทยตลอดมา จึงมีการจัดตั้ง “โครงการนำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนา
              สุรินทร์บ้านเกิด” ขึ้นมา จากความคิดริเริ่มของนายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วน
              จังหวัดสุรินทร์ โดยการประชุมรับฟังความต้องการของประชาชนชาวช้างผ่านการทำประชาพิจารณ์
              ถึง 2 ครั้ง กระบวนการดังกล่าวเป็นการระดมความคิด ระดมสมองร่วมกันระหว่างประชาชนที่ได้

              รับความเดือดร้อนจากปัญหาในเรื่องช้างเร่ร่อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ในการ
              แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับประชาชนผ่านเวทีการทำประชาพิจารณ์ ส่งผลให้มีชาวช้างมาลงทะเบียน
              อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อขอเข้าร่วมโครงการนี้ในการทำประชาพิจารณ์ครั้งนั้นประมาณ 360
              เชือก และเมื่อเริ่มเปิดศูนย์คชศึกษาขึ้นที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.
              2549 เหลือช้างที่เข้าร่วมโครงการฯเพียง 181 เชือก จน ณ ปัจจุบันนี้เหลือช้างที่อยู่ในโครงการ
              เพียง 65 เชือกเท่านั้น


                    2)  วิธีการและขั้นตอนในการดำเนินโครงการ

                      โครงการ “นำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนาบ้านเกิดสุรินทร์” เป็นโครงการที่องค์การบริหาร
              ส่วนจังหวัดสุรินทร์จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องควาญช้างนำช้างออกไปเร่ร่อนนอกพื้นที่จังหวัด
              สุรินทร์ให้กลับมาอยู่ในถิ่นฐานบ้านเกิดอย่างมีความสุข ภายหลังการทำประชาพิจารณ์จาก

              ควาญช้างและได้รับฉันทามติให้ดำเนินโครงการฯได้นั้น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548  องค์การ
              บริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้นำคณะทำงานไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการปางช้าง ที่สถาบัน
              คชบาลแห่งชาติ จังหวัดลำปาง และการบริหารจัดการเรื่องช้าง ที่ปางช้างแม่สา จังหวัดเชียงใหม่
              เพื่อนำประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียและนำมาปรับใช้กับการ
              ดำเนินโครงการฯ โดยใช้ศูนย์คชศึกษาเป็นสถานที่ดำเนินงาน ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
              มีวิธีการดำเนินการและขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้


                         (1)  กิจกรรมการบริหารจัดการหมู่บ้านช้าง (ศูนย์คชศึกษา) ประกอบด้วย
                            2 กิจกรรมหลักคือ

                             จัดตั้งกองทุนโครงการนำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด เพื่อเป็น
                            กองทุนสำหรับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป็น
                            สวัสดิการสำหรับช้างและควาญช้าง กองทุนดังกล่าวนี้มีคณะกรรมการกองทุน

                            มาจากทุกภาคส่วนในจังหวัดสุรินทร์
                                                                               2 5
                                                    ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305