Page 303 - kpi9942
P. 303
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
ตารางที่ 3 แสดงสถิตินักท่องเที่ยวที่เข้าชมการแสดงของช้าง
ณ ศูนย์คชศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551
ระยะเวลา ชาวไทย ชาวต่างชาติ ยอดรวม
พ.ศ. 2549 81,802 5,159 86,961
พ.ศ. 2550 103,055 5,298 108,353
มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2550 37,991 1,621 39,612
รวม (ระยะเวลา 15 เดือน) 222,848 (94.86) 12,078 (5.14) 234,926 (100.00)
ที่มา: งานวิเคราะห์นโยบายและแผน กองวิชาการและแผนงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า ตลอดระยะเวลาที่โครงการนำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนาสุรินทร์
บ้านเกิด 15 เดือน มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าชมการแสดงของช้างทั้งสิ้น 234,926 คน แบ่งออก
เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 222,848 คน คิดเป็นร้อยละ 94.86 และชาวต่างชาติ 12,078 คน คิดเป็น
ร้อยละ 5.14 หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์เก็บค่าใช้จ่ายตามที่เคยคิดไว้ โดยเก็บค่า
เข้าชมการแสดงของช้างจากชาวไทยในอัตรา 60 บาท และชาวต่างชาติในอัตรา 120 บาท ซึ่งได้เงิน
เพื่อมาใช้ในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 14,820,120 บาท หรือเฉลี่ยประมาณเดือนละ 1,000,000
บาท ซึ่งอาจนำไปสมทบกับเงินที่ควาญช้างได้เดือนละ 8,000 บาท เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับ
ควาญช้างได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การดำเนินงานโครงการ “นำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนาบ้านเกิดสุรินทร์” ประสบความ
สำเร็จในระดับหนึ่ง เพราะลดปัญหาช้างเร่ร่อนลงได้มาก ตลอดจนสร้างรายได้และส่งเสริม
กระบวนการการพึ่งตนเองให้กับควาญช้าง ให้ครอบครัวกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกตาม
วัตถุประสงค์ในเบื้องต้นของโครงการ ฯ แม้ว่าก่อนหน้าโครงการนี้จะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาค
เอกชน เข้ามาดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือช้าง แต่ไม่มีหน่วยงานใดดำเนินงานได้ประสบความ
สำเร็จเท่ากับที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ทำ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
2
สถาบันพระปกเกล้า