Page 308 - kpi9942
P. 308

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์    จ.สุรินทร์



              ประชาพิจารณ์ไปดำเนินการต่อ  โดยการนำคณะทำงานและประชาชนชาวช้างไปศึกษาดูงานยัง
              สถานที่ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการเรื่องช้าง รวมไปถึงการจัดตั้งคณะกรรมการ
              พัฒนาหมู่บ้านช้าง และกองทุนโครงการนำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด มีตัวแทนจากทุก
              ภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวแทนจากประชาชนชาวช้างเข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการ
              ภายในองค์กร


                      นอกจากการมีส่วนร่วมของประชาชน  ยังพบว่ามีการบูรณาการการทำงานร่วมกันของ
              ทุกภาคส่วนทั้งในจังหวัดสุรินทร์และในระดับประเทศ  ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน รวมไปถึง
              องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ แสดงให้เห็นถึง
              การทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือ ทำให้เกิดโครงการ “นำช้างคืนถิ่น เพื่อพัฒนาสุรินทร์
              บ้านเกิด” นี้ขึ้นมา

                      ในประเด็นความโปร่งใสของการดำเนินโครงการนี้ พบว่า ก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการ

              มีการทำประชาพิจารณ์จากประชาชนชาวช้าง และมีการประชาสัมพันธ์แผนการจัดหาพัสดุ ผลการ
              จัดซื้อจัดจ้าง รายการดำเนินงานด้านงบประมาณของโครงการ ให้หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน
              และภาคประชาสังคมในจังหวัดสุรินทร์ได้รับทราบผ่านทางเว็บไซต์ (www.surinpao.org) วารสาร
              ไตรมาส รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุ 8 แห่งและวิทยุชุมชนอีกกว่า 80 แห่ง เพื่อให้
              ประชาชนในทุกพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ ได้รับทราบการดำเนินกิจกรรมของทาง องค์การบริหาร

              ส่วนจังหวัดสุรินทร์

              2.2  โครงการสภาปราชญ์

                    1)  สภาพปัญหาและที่มาของโครงการ

                      จังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายแขนง

              เนื่องจากประกอบด้วยคนหลายชนชาติ อาทิเช่น ชาวกวย ชาวไทยลาว ชาวไทยเขมร เป็นต้น ทำให้
              มีมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ผ่าน “ปราชญ์ชาวบ้าน” ซึ่งมีความหลากหลายตามความ
              ถนัดและการปฏิบัติของแต่ละคน ซึ่งมีองค์ความรู้ที่หล่อหลอม ซึมซับ บ่มเพาะ ค้นคว้า ทดลอง
              โดยใช้วิถีชีวิตของตนเองเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ เพื่อทดสอบความถูกผิด แล้วคิดสรร
              กลั่นกรองสิ่งที่มีคุณค่าแก่ชีวิต แก่แผ่นดิน ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้สืบสาน ทั้งที่เป็นมรดกและทั้งที่เป็น
              สมบัติทางปัญญา ดังนั้นประสบการณ์ความคิดและวิถีการดำรงชีวิตของปราชญ์ชาวบ้านแต่ละท่าน


                                                                                0
                                                    ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
   303   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313