Page 309 - kpi9942
P. 309

ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50



             ล้วนเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญของแผ่นดินทั้งดิน

                    ปราชญ์ชาวบ้านเหล่านี้ขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ แต่ไม่ได้มีการ
             ดำเนินการหรือขับเคลื่อนกิจกรรมทางวัฒนธรรมเหล่านี้แต่อย่างใด เนื่องจากติดขัดด้าน
             งบประมาณ  องค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งสภาปราชญ์ขึ้นเพื่อรวบรวม
             ปราชญ์ชาวบ้านสาขาต่างๆ ให้อยู่รวมกัน โดยจัดทำเป็นทำเนียบรายชื่อและความเชี่ยวชาญออกเป็น

             9 สาขา เพื่อให้ปราชญ์ชาวบ้านได้ประสานความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ และเพื่อให้สภาปราชญ์
             เป็นเวทีกลางของปราชญ์ชาวบ้านในการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมความคิดเพื่อเป็น
             กำลังสำคัญในการขับเคลื่อน และพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ให้มีความเจริญสืบไป

                  2)  วิธีการและขั้นตอนการดำเนินโครงการ


                    การดำเนินงานโครงการสภาปราชญ์แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรมหลัก คือ

                        (1)  การจัดตั้งคณะกรรมการสภาปราชญ์ชาวบ้าน

                              องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์เป็นผู้ริเริ่มในการจัดตั้งสภาปราชญ์
                           โดยมีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภาปราชญ์ชาวบ้าน ประกอบด้วย กรรมการ
                           สภาปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นตัวแทนของทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งสิ้น
                           31 คน เพื่อเป็นบุคลากรหลักในการขับเคลื่อนสภาปราชญ์ชาวบ้านจังหวัด

                           สุรินทร์ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น สำหรับปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 9 สาขา มีดังนี้

                              สาขาอาหารและโภชนาการ

                              สาขาศาสนา ประเพณี และพิธีกรรม

                              สาขาเกษตรกรรมและการทำมาหากิน


                              สาขาภาษาและวรรณกรรม

                              สาขาศิลปหัตถกรรมและสิ่งทอ

                              สาขาศิลปะการแสดงและดนตรี




            0
                  สถาบันพระปกเกล้า
   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314