Page 306 - kpi9942
P. 306
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ จ.สุรินทร์
ให้กว้างขวางทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประสานความร่วมมือกับ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น
4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการ คือ
(1) แนวร่วมของประชาชน ก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการนี้ ทางองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสุรินทร์มีการทำประชาพิจารณ์ ประชาชนซึ่งเป็นชาวช้างให้ความ
ร่วมมือเป็นอย่างดี แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นของการทำโครงการ อาจยังมองไม่เห็น
ภาพว่าโครงการจะออกมารูปแบบใดหรือมีทิศทางใด แต่ด้วยความเชื่อมั่นใน
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และเชื่อมั่นในตัวนายกฯ
ธงชัย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ จึงทำให้โครงการนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้
และสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนชาวช้างได้เป็นอย่างดี
(2) การบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีจุด
มุ่งหมายเดียวกันในการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน แสดงให้เห็นถึงความเป็น
เอกภาพของหน่วยงานในจังหวัด นอกจากนี้ ยังพบว่ามีองค์กรที่ให้ความช่วย
เหลือสนับสนุนการทำโครงการนี้ อาทิเช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การบินไทย เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงลักษณะการทำงานแบบเครือข่ายความ
ร่วมมือ
(3) บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีความร่วมมือและประสานงานกันได้
เป็นอย่างดี บุคลากรซึ่งหมายถึงทั้งคณะผู้บริหาร ฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำ
ทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมานี้ สามารถทำงานร่วมกันได้โดยที่ไม่เคยเกิดปัญหา เพราะ
มีการประชุมกันเดือนละ 2 ครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นร่วมกัน โครงการหมู่บ้านช้างจึงสามารถดำเนินการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
5) ผลลัพธ์ของโครงการ
(1) อนุรักษ์วัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของชาวกวย (เป็นชนชาติดั้งเดิมที่ตั้ง
หลักแหล่งอยู่ในพื้นที่อีสานใต้) ที่สืบทอดวิชาคชศาสตร์ (เช่น การดูลักษณะ
01
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50