Page 42 - 22825_Fulltext
P. 42
2-2
ชุมชน ในประเทศ จึงควรทบทวนตนเอง เข้าใจตนเองอย่างสม่ าเสมอว่าเราไม่ได้เกิดมาเพื่อยึดตนเอง
เป็นศูนย์กลางโดยละเลยการเข้าใจบุคคลอื่น
แนวทางในการป้องกันความรุนแรง สงครามระหว่างประเทศและภายในประเทศแนวทาง
หนึ่งคือ การเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) สามารถกระท าได้โดย 1)ระบุประเภทและต าแหน่ง
ของความขัดแย้งที่จะกลายเป็นความรุนแรง 2) ตรวจสอบและประเมินว่าใกล้แค่ไหนที่จะน าไปสู่
ความรุนแรง การเตือนภัยล่วงหน้าจะเป็นการท างานที่เน้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการใช้สถิติเข้ามา
ในการจัดระบบข้อมูล รวมถึงหาสาเหตุของความขัดแย้งดังกล่าว และหาผู้ที่มีศักยภาพในการป้องกัน
และจัดการกับปัญหานั้นได้ การทราบถึงข้อมูลดังกล่าวอย่างเพียงพอจะท าให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถ
แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเที่ยงตรงและทันเวลา ในต่างประเทศมีการสร้างฐานข้อมูลด้านสันติภาพ
ไว้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีสันติภาพโลก (GPI) และดัชนีสันติภาพเชิงบวก (PPI) จัดท า
โดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (IEP) ได้ด าเนินการจัดเก็บข้อมูลมายาวนานนับสิบปีอย่าง
ต่อเนื่อง โดย เน้นวัดสันติภาพในเชิงลบ (ความรุนแรงที่เห็นได้ชัดเจน) และขยายงานด้านสันติภาพให้
กว้างขึ้นมาเป็นการวัดสันติภาพในเชิงบวก (ความรุนแรงทางโครงสร้างและวัฒนธรรม) โดยเก็บข้อมูล
เปรียบเทียบสันติภาพจาก 163 ประเทศ สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ ได้จัดท ารายงานตัวชี้วัด
ออกมาทั้งสันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก แต่การจัดท ารายงานจะแยกกันเป็นคนละเล่ม การวัด
สันติภาพเชิงลบมีความสลับซับซ้อนน้อยกว่า และวัดได้ง่ายและชัดเจน ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก
(Domains) คือ 1.ความขัดแย้งภายในและระหว่างประเทศที่ยังด ารงอยู่ (Ongoing Domestic and
International Conflict) 2.ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม (Societal Safety and
Security) 3.การทหาร (Militarisation) อย่างไรก็ตาม การวัดสันติภาพเชิงลบเน้นไปที่การวัดความ
รุนแรงที่เห็นได้ชัดเจนทางกายภาพ แต่ไม่ได้ลงลึกถึงความรุนแรงที่ซ่อนอยู่หรือเบื้องหลังสาเหตุที่ท า
ให้เกิดความรุนแรงทางกายภาพ สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ จึงได้วัดระดับสันติภาพเชิงบวก
(PPI) โดยอธิบายถึงความรุนแรงทางโครงสร้างและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอ านาจของ
สังคม ความเชื่อที่ส่งผลต่อการใช้หรือไม่ใช้ความรุนแรง สันติภาพเชิงบวกรวมสันติภาพในเชิงลบเข้าไป
ด้วย รวมถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อีกทั้ง ทัศนคติ สถาบัน โครงสร้างซึ่งสร้างและท าให้สังคมมี
สันติภาพที่ยั่งยืน ประกอบด้วยตัวชี้วัด 8 ด้าน คือ 1) ด้านการยอมรับสิทธิของผู้อื่น (Acceptance of
the Rights of Others) 2) การกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Distribution of
Resources) 3) การไหลเวียนอย่างอิสระของข้อมูล (Free Flow of Information) 4) ความสัมพันธ์ที่ดี
กับเพื่อนบ้าน (Good Relations with Neighbours) 5) ทุนมนุษย์ระดับสูง (High Levels of Human
Capital) 6) การทุจริตในระดับต่ า (Low Levels of Corruption) 7) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี
(Sound Business Environment) 8) การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลที่ดี (Well- Functioning
Government) ครอบคลุมองค์ประกอบเชิงสถาบัน