Page 45 - 22825_Fulltext
P. 45

2-5








                       สันติภาพนั้นวัดจากทั้งภายในประเทศ 60 % และภายนอกประเทศ 40 % การเลือกเปอร์เซ็นต์ดังกล่าว
                       มาจากคณะกรรมการที่ปรึกษา (Advisory Panel)
                                         ทั้งนี้ The Economist Intelligence Unit (EIU) มีบทบาทส าคัญในการให้
                       คะแนนตัวชี้วัดด้านคุณภาพ รวมถึงเชิงปริมาณเฉพาะกรณีที่ข้อมูลไม่ครบถ้วน EIU จะช่วยกัน

                       วิเคราะห์และเติมเต็มข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ โดยมีขั้นตอนการท างานในส่วนของการเก็บข้อมูลเชิง
                       คุณภาพ ดังนี้ 1) แต่ละประเทศวิเคราะห์คะแนนตัวชี้วัดคุณภาพ และใช้รูปแบบดิจิทัล 2) ผู้อ านวยการ
                       ภูมิภาคใช้รูปแบบดิจิทัลในการตรวจสอบคะแนน 3) คะแนนตัวชี้วัดถูกตรวจสอบโดย EIU 4) ถ้า
                       คะแนนตัวขี้วัดถูกตั้งค าถาม EIU ผู้อ านวยการภูมิภาค และผู้อ านวยการระดับประเทศจะหารือกันเพื่อ

                       หาข้อตกลงในคะแนน 5) คะแนนถูกประเมินโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาก่อนถึงขั้นสุดท้าย 6) ถ้า
                       คณะกรรมการที่ปรึกษามีข้อสงสัยจะมีการหารือกันโดย EIU ผู้อ านวยการภูมิภาค และระดับประเทศ
                       (Institute for Economics & Peace, 2021) รายละเอียดดังตารางที่ 2.1
                                     2) ดัชนีสันติภาพเชิงบวก (Positive Peace Index)

                                     สันติภาพเชิงบวกซึ่งได้รวมสันติภาพในเชิงลบเข้าไปด้วย แม้อาจจะเป็นสิ่งที่มองไม่
                       เห็นด้วยตา แต่ครอบคลุมทั้งในเชิงโครงสร้าง ทัศนคติ และสถาบัน ท าให้สังคมมีสันติภาพที่ยั่งยืน จาก
                       รายงานดัชนีสันติภาพโลกของ Institute for Economics & Peace (2022) ในเรื่อง Positive Peace

                       Report ประกอบด้วย 8 ด้านหลัก (Domains) แต่ละด้านมี 3 ตัวชี้วัดย่อย รวมเป็น 24 ตัวชี้วัด
                       สันติภาพเชิงบวกใช้วัดความยืดหยุ่นของประเทศที่สังเกตได้ นั้นคือ ความสามารถในการปรับตัว และ
                       ความสามารถการฟื้นตัวจากสภาวะช็อก (Shocks) เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการ
                       เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วัดความเปราะบางและช่วยคาดการณ์แนวโน้มที่
                       จะเกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง และความไม่มั่นคง

                                     วิธีการวัดจะวัดให้มีความสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดสันติภาพโลก (GPI) โดยระดับ
                       คะแนน 1 ถึง 5 คะแนน โดย 1 คะแนน หมายถึง การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น ส่วน 5
                       คะแนน คือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแย่ลง ทั้งนี้ต้องน าตัวชี้วัดแต่ละด้านมาถ่วงน้ าหนัก

                       สันติภาพเชิงบวกได้อาศัยค าอธิบายตัวชี้วัดและอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงมาจากทั่วโลก เช่น
                       Heritage Foundation World Bank UNDP Freedom House Reporters without Borders
                       Fund for Peace Transparency International ประกอบด้วย  (Institute for Economics &
                       Peace, 2022) ประกอบด้วยสันติภาพเชิงบวกแต่ละด้านที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน เช่น ทุนมนุษย์

                       ระดับสูง สามารถเป็นแรงขับให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ขณะที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดีสามารถเป็น
                       แรงขับในการปรับปรุงการศึกษา และประเทศที่มีการทุจริตสูง จะได้คะแนนระดับการพัฒนาทุน
                       มนุษย์ในระดับต ่า
                                     ทั้งนี้ Institute for Economics & Peace (2022) ได้ระบุว่า ประเทศไทยในปี

                       2565 อยู่ในอันดับที่ 60 ได้คะแนน 2.937 จาก 163 ประเทศทั่วโลก ส่วนประเทศที่ได้อันดับ 1 คือ
                       สวีเดนได้คะแนน 1.228 ถัดมาประเทศที่ได้อันดับที่ 2 คือ เดนมาร์กได้คะแนน 1.238 และประเทศที่
                       ได้อันดับ 3 คือ ฟินแลนด์ได้คะแนนเท่ากัน 1.258 ขณะที่ประเทศเยเมนได้อันดับที่ 161 ได้คะแนน
                       4.542 ซูดานใต้ได้อันดับ 162 ได้คะแนน 4.553 อันดับสุดท้ายคือ โซมาเลีย ที่ได้คะแนน 4.590 โดย

                       รายละเอียดค าอธิบายตัวชี้วัดมีดังนี้
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50