Page 52 - kpi22408
P. 52
ความรู้เบื้องต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 51
รัฐธรรมนูญนั้นหรือไม่ แต่ก็มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับ
เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ที่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนในชั้น
การยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ในกรณีที่ได้มีการจัดทำาร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อย
แล้ว และร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทน
ของประชาชน หรือได้รับความเห็นชอบโดยผ่านการออกเสียงประชามติ
แล้วก็ตาม ก็ต้องนำาร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อ
ทรงลงพระปรมาภิไธยอันเป็นเงื่อนไขสำาคัญในการประกาศใช้ และใน
การยกร่างรัฐธรรมนูญนั้นยังได้บัญญัติต่อมาอีกว่า ในกรณีที่พระมหากษัตริย์
ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมา หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย
และไม่พระราชทานคืนมา ก็จะต้องมีการจัดทำาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าหากพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย
กับร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นได้ จะต้อง
ยกร่างใหม่นั่นเอง
การกำาหนดถึงพระราชอำานาจในส่วนนี้อาจมีความแตกต่าง
จากการยกร่างรัฐธรรมนูญในประเทศอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาถึงบทบาท
ของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จะเห็นได้
ว่าพระราชสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย
มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากบริบททางสังคมในประเทศอื่นๆ จึงไม่เป็นที่
น่าแปลกใจว่าประชาชนจะยอมรับให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำานาจ
ในการการยกร่างรัฐธรรมนูญไทยแตกต่างจากประเทศอื่นๆ เสมือนหนึ่งว่า
ในอำานาจสถาปนารัฐธรรมนูญนั้น แม้จะเป็นของประชาชน แต่ก็มีส่วนที่
เป็นของพระมหากษัตริย์ด้วย
7/2/2565 BE 16:08
inside_�������������.indd 51
inside_�������������.indd 51 7/2/2565 BE 16:08