Page 47 - kpi22408
P. 47
46
ของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกันหรือที่นักวิชาการหลายคน
เรียกว่า “ระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ” (Constitutional Monarchy)
แต่เราต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนว่า รัฐธรรมนูญของทุกประเทศนั้นแม้จะ
เป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนกันหมดก็ตาม แต่มีทั้งส่วนที่เป็นลายลักษณ์
อักษรและส่วนที่เป็นจารีตประเพณี ซึ่งจะมีผลต่อการตีความในการบังคับใช้
รัฐธรรมนูญและอาจทำาให้รัฐธรรมนูญบางมาตราไม่อาจบังคับใช้ได้
หรือใช้บังคับไปในทางที่นักวิชาการต่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์ ในขณะที่
คนในประเทศเองอาจจะเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร และส่วนที่เป็น
จารีตประเพณีนี้เองที่เชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับประวัติศาสตร์ความเป็น
มาของประเทศนั้นๆ และส่งผลให้แม้จะเป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
เหมือนกัน และคงหลักการสำาคัญไว้เหมือนกัน แต่รายละเอียดในแต่ละ
ประเทศอาจจะมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันไป
ในส่วนนี้ จะเป็นการทำาความเข้าใจกับพระมหากษัตริย์ในฐานะ
ที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามส่วน
ประกอบสำาคัญของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข” โดยมองผ่านบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติเรื่อง
พระราชสถานะและพระราชอำานาจไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในประเด็นสำาคัญสองประเด็น คือ สถานะ
และพระราชอำานาจของพระมหากษัตริย์ ดังนั้น เนื้อหาในบทนี้จะเป็น
การทำาความเข้าใจถึง (1) สถานะของพระมหากษัตริย์ในการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ
7/2/2565 BE 16:08
inside_�������������.indd 46
inside_�������������.indd 46 7/2/2565 BE 16:08