Page 50 - kpi22408
P. 50

ความรู้เบื้องต้นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  49


                3.1.4 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้


                        สถานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่เคารพสักการะ
                ผู้ใดจะละเมิดมิได้นั้น ก็ได้รับการบัญญัติรับรองในรัฐธรรมนูญแห่ง
                ราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เช่นกัน โดยมีแนวคิดมาจาก

                รัฐธรรมนูญประเทศญี่ปุ่นสมัยเมจิ โดยการบัญญัติสถานะดังกล่าวนี้
                หมายความว่ารัฐบาลและประชาชนมีหน้าที่จะต้องเคารพสักการะ

                ต่อพระมหากษัตริย์ ส่วนคำาว่า “ผู้ใดจะละเมิดมิได้” นั้น หมายความว่า
                ผู้ใดจะฟ้องร้องให้พระมหากษัตริย์ต้องรับผิดโดยตรงไม่ได้

                        ทั้งนี้ การบัญญัติกำาหนดพระราชสถานะดังกล่าว ส่งผลให้

                พระมหากษัตริย์จะต้องดำารงตนอยู่เหนือการเมือง ดังนั้น จึงไม่อาจทรง
                แสดงออกว่าฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งได้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญ

                แห่งราชอาณาจักรไทยจะไม่เคยบัญญัติถึงการดำารงตนอยู่เหนือการเมือง
                ของพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่ก็ได้มีคำาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่รับรอง
                พระราชสถานะดังกล่าว โดยวินิจฉัยว่า


                        “หลักการพื้นฐานดังกล่าว ถือเป็นเจตนารมณ์ร่วมของ
                การสถาปนาระบอบการปกครองของไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแต่เริ่มแรก

                และเป็นฉันทามติที่ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรให้การยอมรับปฏิบัติสืบต่อมาว่า
                พระมหากษัตริย์ .... ควรด�ารงฐานะอยู่เหนือการเมือง โดยเฉพาะในแง่
                การไม่เข้าไปมีบทบาทเป็นฝักฝ่ายต่อสู้แข่งขันรณรงค์ทางการเมือง

                อันอาจจะน�ามาซึ่งการโจมตี ติเตียน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อย
                สมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์

                กับราษฎร....”







                                                                     7/2/2565 BE   16:08
         inside_�������������.indd   49
         inside_�������������.indd   49                              7/2/2565 BE   16:08
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55