Page 55 - kpi22408
P. 55
54
• พระราชอ�านาจที่เกี่ยวข้องกับอ�านาจนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับจะบัญญัติให้พระราชอำานาจใน
การคัดค้านร่างกฎหมาย (Veto) แก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นอำานาจที่
รัฐธรรมนูญหลายๆ ประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็บัญญัติ
ให้แก่ประมุขของรัฐเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มักจะกำาหนดให้ในกรณีที่มีการนำาร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจาก
รัฐสภาแล้วขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ถ้าหาก
พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย ก็จะทรงไม่ลงพระปรมาภิไธย
และพระราชทานคืนมา หรือไม่พระราชทานคืนมาภายในเวลาที่กำาหนด
ซึ่งรัฐสภาสามารถทบทวนร่างกฎหมายนั้น และทูลเกล้าฯ ถวายอีกครั้งได้
และถ้าหากยังไม่ทรงเห็นชอบ รัฐสภาก็สามารถลงมติเพื่อยืนยันได้ และ
ถ้าหากมีการลงมติยืนยัน ก็จะสามารถประกาศใช้กฎหมายได้เสมือนว่า
ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
ทั้งนี้ เราจะเห็นว่าโดยโครงสร้างของรัฐธรรมนูญเอง ได้บัญญัติ
ให้อำานาจในการตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่ตัวแทนของประชาชน แต่ถ้าหาก
พิจารณาในทางปฏิบัตินั้น พบว่า ประเทศไทยเคยมีกรณีที่รัฐสภาลงมติ
ยืนยันร่างกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยครั้งสุดท้าย
ในสมัยรัชกาลที่ 7 และหลังจากนั้นเป็นต้นมา การลงมติยืนยันประกาศใช้
ร่างกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงคัดค้านก็ไม่เคยปรากฏอีกเลย นอกจากนี้
พระมหากษัตริย์ไทยเองก็ทรงถือหลักว่าทรงดำารงพระราชสถานะอยู่เหนือ
การเมือง ส่งผลให้ทรงแทบไม่เคยใช้พระราชอำานาจการยับยั้งร่างกฎหมายนี้
เว้นเสียแต่ทรงเห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าวนั้นมีความบกพร่องหรือ
7/2/2565 BE 16:08
inside_�������������.indd 54
inside_�������������.indd 54 7/2/2565 BE 16:08