Page 44 - kpi22228
P. 44

36





                                                         บทที่ 3

                                           ประวัติศาสตรการตลาดการเมืองไทย



                       ในบทนี้จะเปนการอธิบายพัฒนาการการเลือกตั้งของไทย ภายใตรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475
               ซึ่งมีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 จนถึงปจจุบัน จากนั้นจะไดอธิบายแนวทางการ

               แสวงหาความนิยมทางการเมืองในการเมืองไทย การใชยุทธวิธีการหาความนิยมทางการเมือง จนถึงการริเริ่ม
               นําเอาแนวคิดดานการตลาดมาใชในการเมือง และเพื่อศึกษาและอธิบายความเปลี่ยนแปลงของการใชกลยุทธ

               การตลาดในการเมืองไทย

                       นอกจากนี้ ในบทนี้จะไดกลาวถึงยุคที่การใชการตลาดทางการเมืองในรูปแบบที่เขมขนมากขึ้น
               โดยเฉพาะกรณีพรรคไทยรักไทย ตลอดจนประเด็นอื่น ๆ ในชวงการเมืองไทยกอนการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562



               3.1 พัฒนาการการหาเสียงในการเมืองไทย

                       3.1.1 การหาเสียงของนักการเมืองในยุคแรก (ทศวรรษ 2480 - 2500)
                       การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของไทยภายใตระบอบการเมืองใหมถูกจัดขึ้นภายหลังเหตุการณกบฏ

               บวรเดชสิ้นสุดลง ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476  แตการเลือกตั้งครั้งแรกนี้จัดเปนการเลือกตั้งทางออม
                                                            2
               เนื่องจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติวาดวยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475
               กําหนดใหมีสมาชิกสภาผูแทนราษฎร 2 ประเภท ที่มีจํานวนเทากัน (ประเภทละ 78 คน) สมาชิกสภาผูแทน

               ราษฎรประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งทางออมจากประชาชนผูสิทธิเลือกตั้งจะเลือกตัวแทนระดับตําบล ๆ

               ละ 1 คนไปเลือกผูแทนราษฎรระดับจังหวัด ๆ ละ 1 คน มีวาระดํารงตําแหนง 4 ป และสมาชิกสภาผูแทน
               ประเภทที่ 2 ที่มาจากการแตงตั้งโดยพระมหากษัตริยที่ระบุไวในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแหง

               ราชอาณาจักรไทยฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่กําหนดเงื่อนไขใหมีสมาชิกประเภทที่ 2 เพื่อทําหนาที่เปน

                        3
               “พี่เลี้ยง”2  ใหสมาชิกจากการเลือกตั้งเปนระยะเวลา 10 ป จากนั้นจะใหมีสภาที่มาจากการเลือกตั้งเพียงอยาง
               เดียว (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2551, 53)


               2  ในงานศึกษาของสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และเว็บไซตพิพิธภัณฑรัฐสภาระบุวาการเลือกตั้งครั้งแรกของไทยคือวันที่ 15

               พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ขณะที่นครินทร เมฆไตรรัตน (2553) ระบุวาการเลือกตั้งทางออมของประเทศเริ่มดําเนินการในวันที่
               1 ตุลาคม พ.ศ. 2476 รับทราบผลการเลือกตั้งทั้งหมดวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ดู สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2551), เชษฐา
               ทองยิ่ง (2564)
               3  ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 บัญญัติใหรัฐสภาเปนระบบสภาเดียว

               โดยมีสมาชิก 2 ประเภท ซึ่งประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้งทางออมโดยประชาชน และสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการ
               แตงตั้งเพื่อใหทําหนาที่กลั่นกรองงานใหกับสมาชิกประเภทที่ 1 หรือเสมือนเปนพี่เลี้ยงคอยชวยเหลือดังที่ปรีดี พนมยงคได

               แถลงไวตอนหนึ่งวา “...ที่เราจําตองมีสมาชิกประเภทที่ 2 ไวกึ่งหนึ่งก็เพื่อที่จะชวยเหลือผูแทนราษฎรในฐานะที่เพิ่งจะเริ่มมีการ
               ปกครองแบบรัฐธรรมนูญ เรายอมทราบอยูแลววายังมีราษฎรอีกจํานวนมากที่ยังไมไดรับการศึกษาเพียงพอที่จะจัดการ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49