Page 39 - kpi22173
P. 39

“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
                          เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”




                  พบวา จํานวน อสม. ตําบลสุเทพ (263 คน) ตําบลแมเหียะ (121 คน) ตําบลฟาฮาม (136 คน) และตําบล

                  ทาศาลา (243 คน) รวม 763 คน เปนหญิง จํานวน 650 คน คิดเปนรอยละ 85.19 เปนชาย จํานวน 113 คน

                  คิดเปนรอยละ 14.81 (ระบบสารสนเทศงานสุขภาพประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน, 2562)



                  2.3 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมสารสนเทศ

                         2.3.1 การใหนิยามเกี่ยวกับพฤติกรรมสารสนเทศ


                             จุดเริ่มตนของแนวคิดพฤติกรรมสารสนเทศไดถือกําเนิดขึ้นในชวงป ค.ศ. 1948 จากการ

                  นําเสนอผลการศึกษาพฤติกรรมของนักวิทยาศาสตรและนักเทคโนโลยีในการแสวงหาและการใชสารสนเทศ

                  จากมุมมองของสถาบันบริการสารสนเทศและผูใหบริการ โดยในระยะตอมามีการศึกษาวิจัย การคนหาและ
                  การใชสารสนเทศของผูใชโดยมุงเนนผูใชเฉพาะกลุม เชน นักวิทยาศาสตร นักเคมี เปนตน เพื่อคนหา

                  แนวทางในการจัดบริการที่กอใหเกิดประโยชนสูงสุดแกผูใชบริการและหลังจากนั้นมีการใชวิธีวิจัยเชิง

                  คุณภาพและนําแนวคิดทฤษฎีของศาสตรอื่นที่เกี่ยวของมาเปนกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยอยาง
                  แพรหลายมากขึ้น


                             Leckie, Pettigrew & Sylvain (1996) ไดมีมุมมองตอพฤติกรรมสารสนเทศวา บุคคลมีความ

                  ตองการสารสนเทศแตกตางกันตามภาระงานและอาชีพและเมื่อตระหนักวาตองการสารสนเทศใด ทําให

                  เกิดพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ  สวน Davenport (1997) ระบุวา พฤติกรรมสารสนเทศเปนวิธีการ
                  ของบุคคลในการเขาถึงสารสนเทศและใชสารสนเทศนั้นๆ  สําหรับ Wilson (2000, p. 50) ไดใหมุมมอง

                  ไวอยางนาสนใจวา พฤติกรรมสารสนเทศ (Information behaviour) เปนพฤติกรรมที่เชื่อมโยงใหแตละ

                  บุคคลเขาถึงแหลงสารสนเทศ โดยใชสื่อตางๆ เปนชองทางในการเผยแพรสารสนเทศ โดยพฤติกรรม
                  สารสนเทศครอบคลุมการคนหา การใช และการสงตอสารสนเทศ  ซึ่ง Wilson เชื่อวาความตองการของ

                  แตละคนนําไปสูพฤติกรรมสารสนเทศที่แตกตางกัน และความตองการนั้นไมอาจทําใหมีการแสวงหา

                  สารสนเทศทุกครั้งไป เพราะอาจเกิดอุปสรรคที่ทําใหไมอาจแสวงหาสารสนเทศที่ตอบสนองความตองการ

                  ได  ทั้งนี้ Spink and Cole (2004) มองวา พฤติกรรมสารสนเทศเปนพฤติกรรมที่เกี่ยวของกับสารสนเทศ

                  ในดานตางๆ เชน ดานการแสวงหาสารสนเทศ การคนหา การสืบคน การจัดระบบและการใชสารสนเทศ
                  นั้นๆ ซึ่งพฤติกรรมสารสนเทศของบุคคลยอมเกิดจากบริบทของความตองการดานการศึกษาและอาชีพ

                  อันนําไปสูกระบวนการแสวงหาสารสนเทศ  สําหรับมุมมองของนักวิชาการชาวไทยอยาง อารีย ชื่นวัฒนา

                  (2545) ระบุไววา พฤติกรรมสารสนเทศเปนพฤติกรรมตางๆ ของบุคคลในการแสดงออกเพื่อที่จะไดรับ
                  สารสนเทศจากแหลงสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศและพฤติกรรมการใช

                  สารสนเทศ






                                                            38
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44