Page 35 - kpi22173
P. 35

“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
                          เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”




                  ฉบับใหม คําประกาศนี้ไดรับแรงบันดาลใจบางสวนจากการดําเนินงานของระบบหมอเทาเปลา (Barefoot

                  doctor system) ที่ดําเนินการในประเทศจีนมากอนหนานี้และถือเปนการปฏิวัติระบบการดูแลปฐมภูมิ

                  (Primary care) ซึ่งเปนการปฏิวัติระบบการดูแลปฐมภูมิของประเทศในพื้นที่ชนบทของประเทศจีน

                  คําประกาศดังกลาวยังเปนการกระตุนให WHO UNICEF และองคการระหวางประเทศอื่นๆ ตลอดจน

                  ความรวมมือแบบพหุภาคีและทวิภาคี NGOs องคการดานการใหเงินทุนเพื่อการพัฒนาบุคลากรดาน

                  สุขภาพและชุมชนระหวางประเทศใหการสนับสนุนความรวมมือระหวางประเทศและระดับประเทศในการ
                  บรรลุเปาหมายการสาธารณสุขมูลฐานและใหเปดทางใหเกิดความรวมมือทางเทคนิคและวิชาการและ

                  เงินทุนสนับสนุนอื่นๆ แกประเทศกําลังพัฒนาเปนการเฉพาะ ถึงแมเปาหมาย 10 ประการ ที่กําหนดไวไมได

                  มีผลผูกมัดประเทศสมาชิกก็ตาม (Lee & Kim, 2018) แตกระนั้นคําประกาศอัลมา อตา ที่ไดผานพนมากวา

                  40 ป ก็ไดคุณูปการอยางมหาศาลใหแกวงการดานสุขภาพของมวลมนุษยชาติ


                         2.2.2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน (อสม.) ในประเทศไทย

                             อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน (อสม.) มีตนกําเนิดและพัฒนาตอยอดมาจากความ

                  พยายามในการแกปญหาการแพรระบาดของไขมาเลเรีย (Malaria) อยางหนักในทศวรรษที่ 2500 ทําให

                  เกิดความตองการกําลังคนจํานวนมากที่พอมีความรูเบื้องตนในการจัดการกับการแพรระบาด ในขณะที่

                  บุคลากรทางการแพทยขาดแคลนจึงมีการฝกอบรมอาสาสมัครเพื่อแกปญหาการแพรระบาดและ
                  กําจัดไขมาเลเรียขึ้น  ในชวงป พ.ศ. 2504-2505 (ค.ศ. 1961-1962) ตอมาในป พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966)

                  นายแพทยสมบูรณ วัชโรทัย  ไดศึกษาวิจัยพบวา อัตราการไปใชบริการที่สถานีอนามัยตําบลทุกระดับ

                  มีระดับต่ํามาก จึงไดทําการทดลองโครงการสงเสริมอนามัยชนบท จังหวัดพิษณุโลก เชนเดียวกับนายแพทย

                  อมร นนทสุต ที่ไดทําการทดลองโครงการที่อําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม หลังการทดลองโครงการ

                  ไประยะหนึ่งจึงรวบรวมจัดตั้งคณะกรรมการดําเนินโครงการสารภี ประกอบดวย นายแพทยสมบูรณ
                  วัชโรทัย  นายแพทยอมร นนทสุต และ นายแพทยไพโรจน นิงสานนท โดยเห็นรวมกันวา ควรเพิ่มการ

                  มีสวนรวมของประชาชนและคัดเลือกประชาชนมาเปน อสม. และผูสื่อขาวสาธารณสุข (ผสส.) ซึ่งทําให

                  อัตราการมาใชบริการเพิ่มมากขึ้น จึงไดขยายโครงการไปยังอําเภออื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหมและอําเภอ

                  โนนไทย จังหวัดนครราชสีมา  ในเวลาตอมา ในป พ.ศ. 2535 มีการกําหนดใหเหลืออาสาสมัครสาธารณสุข

                  ประจําหมูบาน (อสม.) เพียงระดับเดียวสําหรับพื้นที่นอกเขตกรุงเทพมหานคร สวนในเขตพื้นที่กรุงเทพ

                  มหานครมีอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร (อสส.) รับผิดชอบดูแลในพื้นที่ (สํานักขาว Hfocus เจาะลึกระบบ

                  สุขภาพ, 13 กรกฎาคม 2557)









                                                            34
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40