Page 33 - kpi22173
P. 33
“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน
2.2.1 พัฒนาการของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน : จากแนวคิดหมอเทาเปลา
สูวาระสาธารณสุขมูลฐานในเวทีระหวางประเทศ
เรื่องเลาเกี่ยวกับหมอชาวบานที่ดูแลรักษาคนในพื้นที่ชนบทอันไกลโพน รักษาดวยสมุนไพร
และเทคนิคพื้นบานจากวิธีการที่สืบทอดทางภูมิปญญาของชุมชนทองถิ่นและบรรพบุรุษของตนเองได
เกิดขึ้นมานับแตโบราณ แตการดําเนินการของหมอชาวบานที่มีความเกี่ยวของกับขบวนการทางการเมือง
และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมภายในรัฐสมัยใหมเกิดขึ้นอยางชัดเจนและมีบันทึกทางประวัติศาสตรรัฐสมัย
ใหมคือ เรื่องเลาหมอเทาเปลา (Barefoot doctor) เปนชื่อเรียกบุคคลที่มีหนาที่ในการใหบริการดานการ
ดูแลสุขภาพภายในชุมชน โดยผูปฏิบัติงานจะตองผานการฝกอบรมความรูทางการแพทยในระดับพื้นฐาน
และเปนผูปฏิบัติงานในหมูบานชนบทในประเทศจีน โดยหมายรวมถึงชาวนา หมอพื้นบาน (Folk healers)
ผูใหบริการดานการดูแลสุขภาพในชนบทและเปนผูสําเร็จการศึกษาระดับมัธยมตนหรือมัธยมปลายที่ไดรับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานทางการแพทยและผูชวยแพทยพื้นฐาน (Hesketh & Wei, 1997; Xu & Hu, 2017)
โดยเปาหมายหลักคือ การใหบริการดานสุขภาพในพื้นที่ชนบท ในพื้นที่ขาดแคลนและไมสามารถเขาถึง
แพทยผูเชี่ยวชาญจากตัวเมืองได หมอเทาเปลามีหนาที่หลักในการสงเสริมสุขอนามัย การปองกันโรคและ
การดูแลสุขภาพพื้นฐานและการวางแผนครอบครัว การรักษาอาการเจ็บปวยโรคทั่วไป หมอเทาเปลา
เปนการบรรยายภาพการทํางานของหมอที่เปนชาวนาอาศัยอยูทางตอนใตของจีนที่มักไมสวมรองเทา
เดินเทาเปลาในนาขาวและปฏิบัติงานทางการแพทยไปพรอมๆ กัน (Rosenthal & Greiner, 1982; Smith,
1974)
ในป ค.ศ. 1930 เกิดขบวนการฟนฟูชนบท (Rural reconstruction movement) ประเทศ
จีนเปนจุดเริ่มตนบุกเบิกในการพัฒนาบุคลากรดานสุขภาพและมีการฝกอบรมทางการแพทยระดับพื้นฐาน
เพื่อใหสามารถดูแลคนภายในหมูบานของตนเอง หลังจากนั้นมีการขยายการดําเนินงานไปสูระดับจังหวัด
ในชวงหลังป ค.ศ. 1949 หลังคําแถลงการณดานการดูแลสุขภาพของ เหมาเจอตุง ในป ค.ศ. 1965
แนวคิดดังกลาวจึงเกิดการพัฒนาและเปนรูปเปนรางมากขึ้น นโยบายสุขภาพจีนเริ่มใหความสําคัญกับ
หมอเทาเปลาอยางจริงจังหลังจาก เหมาเจอตุง ออกคําสั่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ในปเดียวกัน (Hesketh
& Wei, 1997) ตอมาโครงการหมอเทาเปลาไดถูกผสานรวมเปนนโยบายแหงชาติในป ค.ศ. 1968
และดําเนินการอยางตอเนื่องภายใตโครงการ “ระบบบริการทางการแพทยสหกรณชนบท” (Rural
Cooperative Medical Systems (RCMS)) (Carrin et al., 1999) โดยดําเนินการผนวกกับการมีสวนรวม
ของชุมชนตามขอบัญญัติการใหบริการดานสุขภาพชนบท
32