Page 40 - kpi21662
P. 40
3. สามารถบรรลุความสำเร็จได้ (Achievable) ในความเป็นจริง
4. มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายของโครงการ (Relevant)
และสอดคล้องกับผลลัพธ์ทางสังคมที่ต้องการจะศึกษา
5. มีระยะเวลาที่ชัดเจน (Time-bound) เมื่อเวลาผ่านไป
สามารถติดตามความคืบหน้าได้ และสามารถวัดตามเวลา
แต่ละช่วงได้ เช่น รายปี รายเดือน รายไตรมาส
3. กรณีฐาน (Base Case Scenario)
คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
ในความเป็นจริง ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นมีหลายหน่วยงาน
พยายามจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไม่เพียงแต่โครงการขององค์ปกครอง
ส่วนท้องถิ่นของเราเท่านั้น จึงเป็นไปได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาจเกิดจาก
องค์กรอื่น ๆ มีส่วนสร้างด้วยเช่นกัน (Attribution) หรือในกรณีแม้จะไม่มี
โครงการใดเลย ผลลัพธ์ก็อาจเกิดขึ้นเองได้บางส่วนจากปัจจัยอื่น เรียกว่า
ผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight) และเป็นไปได้ว่า ผลลัพธ์บางส่วน
อาจไม่ใช่ส่วนเพิ่ม แต่เป็นการทดแทนผลลัพธ์อื่น เรียกว่า ผลลัพธ์ทดแทน
(Displacement) ดังนั้น การวัดผลลัพธ์ทางสังคมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์
ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด (เรียกว่า “กรณีฐาน”) ต้องกำจัด
ผลลัพธ์ที่มาจากโครงการอื่นและปัจจัยอื่น ๆ ออกก่อน หากต้องใช้
สมมติฐานก็ใช้เฉพาะกรณีที่มีแหล่งอ้างอิงและใกล้เคียงกับบริบทของ
โครงการมากที่สุด ส่วนในกรณีที่จะประมาณการผลลัพธ์ทางสังคม
4
ในอนาคตมากกว่าหนึ่งปี โดยที่ไม่มีการใส่ทรัพยากรเพิ่มเติมระหว่างช่วง
เวลาดังกล่าว ควรทำประมาณการอัตราการลดลง (Drop off) ของผลลัพธ์
4 ส่วนในกรณีที่จะประมาณการผลลัพธ์ทางสังคมในอนาคตมากกว่าหนึ่งปี
โดยที่ไม่มีการใส่ทรัพยากรเพิ่มเติมระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ควรทำประมาณการอัตรา
การลดลง (Drop off) ของผลลัพธ์ทางสังคมด้วย เนื่องจากผลลัพธ์ทางสังคมมักเกิดขึ้น
ในปีแรก ๆ มากกว่าในปีท้าย ๆ ของการดำเนินโครงการ
0 สถาบันพระปกเกล้า