Page 39 - kpi21662
P. 39

2. ตัวชี้วัดทางสังคม (Social Impact Indicator)

                        ตัวชี้วัดทางสังคมจะต้องสามารถสะท้อนผลลัพธ์แต่ละเรื่อง
                 ในห่วงโซ่ผลลัพธ์ บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเด็นต่าง ๆ
                 ที่เกิดขึ้น เช่น พฤติกรรม การบริโภค หรือสุขภาพของผู้สูงอายุ แสดงให้

                 เห็นความแตกต่างระหว่างจุดแรกเริ่มโครงการและพัฒนาการหลังดำเนิน
                 โครงการ ที่สำคัญตัวชี้วัดต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการ
                 อยู่เสมอ

                        หากการดำเนินโครงการมีผลผลิตที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับ
                 ผลลัพธ์จากการทำกิจกรรม ในห่วงโซ่ผลลัพธ์ ก็สามารถใช้ผลผลิต

                 เหล่านั้นเป็นตัวชี้วัดได้โดยตรง แต่ถ้าผลผลิตยังไม่เชื่อมโยงกับผลลัพธ์
                 ก็ต้องหาตัวชี้วัดที่เหมาะสมกว่า ตัวอย่างเช่น “จำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วม
                 โครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ” อาจจะยังไม่เชื่อมโยงกับ
                 ผลลัพธ์ของ “การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” จากการร่วมโครงการศูนย์พัฒนา   คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น

                 คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการอาจไม่ได้เปลี่ยน
                 พฤติกรรมการบริโภค หรือออกกำลังกายสม่ำเสมอ แล้วส่งผลให้คุณภาพ
                 ชีวิตผู้สูงอายุดีขึ้น ดังนั้นตัวชี้วัดที่เหมาะสมกว่าน่าจะเป็น “จำนวนผู้สูงอายุ
                 ที่เจ็บป่วยน้อยลง” จะเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ “การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

                 ได้ชัดเจนกว่า

                        ตัวชี้วัดทางสังคมที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

                          1. มีความจำเพาะเจาะจง (Specific) ไม่ครอบคลุมในวงกว้าง
                             จนเกินไป เช่น มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน หรือมีการะบุพื้นที่
                             เป็นการจำเพาะ


                          2. วัดได้ (Measurable) ตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง
                             สามารถใช้เปรียบเทียบข้ามองค์กรได้ และมีความน่าเชื่อถือ





                                                             สถาบันพระปกเกล้า   2
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44