Page 41 - kpi21662
P. 41

ทางสังคมด้วย เนื่องจากผลลัพธ์ทางสังคมมักเกิดขึ้นในปีแรก ๆ มากกว่า
                 ในปีท้าย ๆ ของการดำเนินโครงการ

                      ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมแบบกรณีฐาน
                 มีดังนี้

                      1.  ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากหน่วยงาน/องค์กรอื่น (Attribution)


                        การประเมินผลลัพธ์ควรสังเกตหรือสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                 ว่ามีหน่วยงาน/องค์กรอื่น ๆ เข้ามาสร้างผลลัพธ์เดียวกันนี้หรือไม่ ตัวอย่าง
                 เช่น ผู้สูงอายุมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลเพิ่มเบี้ยยังชีพให้มากขึ้น
                 ไม่ได้มาจากโครงการที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการเพียง

                 อย่างเดียว

                      2. ผลลัพธ์ส่วนเกิน (Deadweight)

                        ผลลัพธ์ส่วนเกิน หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่มีหน่วยงาน   คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
                 หรือองค์กรใดดำเนินการเรื่องนี้ในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบางคนอาจพบ
                 วิธีบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือสภาพแวดล้อมทางด้านสังคม

                 เศรษฐกิจโดยรวม และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ อาจดีขึ้นเองก็ได้ ตัวอย่างเช่น
                 ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการที่ลูกหลานส่งเงินมาให้มากขึ้น ทำให้
                 สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้มากขึ้น หรือผู้สูงอายุเปลี่ยน
                 พฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยตนเอง


                        การคำนวณผลลัพธ์ส่วนเกิน เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
                 หรือการเปรียบเทียบกับตัวอย่างมาตรฐาน (Benchmark) ซึ่งควรเป็นกลุ่ม
                 ประชากรเดียวกัน เพื่อเทียบความแตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประโยชน์จาก
                 โครงการกับกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ สัดส่วนผลลัพธ์ส่วนเกินที่ประมาณการ
                 ได้จะต้องนำมาหักออกจากมูลค่าตัวชี้วัดทางสังคมที่ประเมินได้ เพื่อให้ได้

                 ผลลัพธ์ที่แท้จริง




                                                             สถาบันพระปกเกล้า    1
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46