Page 44 - kpi21662
P. 44

การเลือกว่าจะคำนวณ SROI หรือไม่ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์
                 ของการนำข้อมูลไปใช้ หากต้องการทราบแค่ผลลัพธ์ทางสังคมหรือ
                 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่โครงการสร้างขึ้น แต่ไม่ได้อยากทราบมูลค่า
                 ทางการเงินหรือความคุ้มค่า ก็ไม่จำเป็นต้องหา “มูลค่า” ของผลลัพธ์ทาง

                 สังคมในรูปตัวเงิน เนื่องจากการทำ SROI มีความซับซ้อนและมีข้อวิพากย์
                 มากมาย การพิจารณาขั้นต้นว่าโครงการใดควรประเมิน SROI อาจ
                 พิจารณาจากลักษณะโครงการ ตัวอย่างเช่น โครงการพัฒนาชุมชนอย่าง
                 ยั่งยืนร่วมกัน โครงการที่ใช้ทรัพยากรสูงอย่างต่อเนื่องไปในอนาคต หรือ
         คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น
                 โครงการที่มีการสร้างคุณค่าร่วมหรือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
                 เชิงธุรกิจควบคู่ไปกับคุณค่าทางสังคม (Creating Shared Value: CSV)
                 ในทางตรงข้ามบางโครงการประเมินด้วย SIA ก็เพียงพอแล้ว ตัวอย่างเช่น
                 โครงการที่ส่งผลลัพธ์ทางสังคมในระยะยาวหรือใช้เวลานานกว่าจะเห็น

                 ผลลัพธ์เป็นรูปธรรม โครงการที่จะต้องมีการสื่อสารผลลัพธ์ทางสังคม
                 ที่ชัดเจนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และโครงการเพื่อสังคมที่องค์กรไม่มี
                 ความคุ้นเคยกับลักษณะของโครงการ หรือไม่แน่ใจว่าเกิดผลลัพธ์ทางสังคม
                 หรือไม่

                 ขั้นตอนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม
                 และผลตอบแทนทางสังคมจากโครงการ


                      ขั้นตอนการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (SIA) แสดงรายละเอียด
                 ในกิจกรรมที่ 1 – 7 หากต้องการทราบผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการและ
                 มูลค่าทางสังคมที่เป็นตัวเงินด้วย ให้ศึกษารายละเอียดขั้นตอนการประเมิน
                 ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ในกิจกรรมที่ 8 - 10 เพิ่มเติม
                 ทั้งนี้กิจกรรมในการประเมินผลโครงการแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนหลัก

                 แสดงในตารางที่ 2 ดังนี้







                 สถาบันพระปกเกล้า
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49