Page 84 - kpi21588
P. 84

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   5-4



                              (2) พัฒนาการที่เปลี่ยนไปของรูปแบบวิธีการซื้อเสียงที่ใช้ในยุคปัจจุบันที่ได้รับการกล่าวถึงมากอีกเรื่อง

                       หนึ่ง คือ “การซื้อเสียงผ่านทางนโยบายประชานิยม/กลไกทางนโยบายรัฐ” และ “การโอนเงินเข้าสู่ระบบผ่าน
                       ทางโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ของรัฐ” เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลสูงมาก และเป็นเรื่องที่ปรากฎให้เห็นชัดเจน
                       โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุที่ฝ่ายรัฐบาล ณ ขณะนั้น มีความต้องการได้รับชัยชนะในการ

                       จัดการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น โดยได้ด าเนินการตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาแข่งขันในการเลือกตั้ง จึงมีความ
                       เสียเปรียบในการเป็นพรรคใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความได้เปรียบจากการที่ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่นั้น

                       เป็นผู้ที่อยู่เป็นรัฐบาล เป็นคณะรัฐมนตรี มาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2557 ซึ่งอยู่ในฝ่ายบริหารมากว่า 5 ปีอย่าง
                       ต่อเนื่อง จึงสามารถเข้าไปเบียดแทรกอิทธิพลทางการเมืองเดิมของพื้นที่ต่าง ๆ และแสดงบทบาทในระดับพื้นที่

                       จนเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน เหตุปัจจัยดังกล่าว จึงท าให้ต้องคิดหาวิธีขยายผลในเชิงอุปถัมภ์ออกไปเป็นวงกว้างใน
                       เวลาอันสั้น จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการเชิงนโยบายเข้ามาเป็นเครื่องมือ และวิธีการดังกล่าวนี้มีความแยบ

                       ยลและยากต่อการเอาผิด สอดคล้องกับข้อสรุปของ ปรีชญาณ์ นักฟ้อน (2559) ที่ระบุว่า การทุจริตเชิงนโยบาย
                       นับเป็นการกระท าที่ยากในการหาหลักฐานที่แสดงให้เห็นพฤติการณ์ที่ชัดเจน ส่งผลให้แนวทางการตรวจสอบ
                       ท าได้ยากเช่นกัน โดยต้องอาศัยข้อมูลจ านวนมากและองค์ประกอบในการพิจารณาที่หลากหลาย เพื่อเชื่อมโยง

                       ให้เห็นถึงการทุจริตเชิงนโยบายในลักษณะของการรับประโยชน์อันจะเกิดขึ้นจากการด าเนินนโยบายนั้นๆ
                       รวมทั้ง อาจเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่สังคมหรือขัดขวางมิให้สังคมได้รับประโยชน์จากกระบวนการ

                       นโยบายสาธารณะในแต่ละขั้นตอนอย่างที่ควรจะเป็น เพราะในแง่ของกฎหมาย ก็จะต้องมีการตีความว่า
                       ลักษณะการกระท าดังกล่าวจะเข้าข่ายความผิดในกฎหมายการเลือกตั้งเรื่องใด อย่างไร


                              นอกจากนี้ ข้อค้นพบจากการศึกษา ยังสอดคล้องกับงานของ อุดม รัฐอมฤต และคณะ (2561) ที่ได้
                       ศึกษาเรื่อง การทุจริตเชิงนโยบาย: มาตรการในทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันปัญหาการทุจริตเชิง
                       นโยบายในประเทศไทย โดยได้ข้อสรุปส าคัญว่า ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย คือ การใช้ความชอบธรรมของ

                       นโยบายและกฎหมาย เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากปัญหาการทุจริตและประพฤติ
                       มิชอบ หรือปัญหาการคอร์รัปชั่นที่เกิดจากการใช้อ านาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ผ่านมา การทุจริตคอร์รัปชั่น

                       จากนโยบายทางการเมือง ได้สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลแก่ประเทศไทย เช่น กรณีของ "โครงการ
                       โฮปเวลล์" ในยุคสมัยของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นับเป็นการทุจริตในโครงการของรัฐขนาดใหญ่ในรูปแบบ

                       เก่า เป็นเรื่องของการรับสินบนของฝ่ายการเมือง เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นและด าเนินการเสร็จแล้วก็ยุติลง ซึ่ง
                       งบประมาณของภาครัฐมิได้ถูกน าไปใช้ด าเนินโครงการในลักษณะของโครงการประชานิยมที่ผูกพันงบประมาณ

                       ภาครัฐในระยะยาว แต่ยุคปัจจุบันในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา การทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าว ได้มีรูปแบบ
                       เปลี่ยนแปลงไป และมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยอาจเรียกว่าเป็น "การทุจริตเชิงนโยบาย" ซึ่งฝ่าย
                       การเมืองได้ใช้กลไกของภาครัฐด าเนินโครงการตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ โดยเรียกกันว่า "นโยบายประชา

                       นิยม" ซึ่งประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับจากการด าเนินนโยบายมีทั้งคะแนนเสียงและเม็ดเงินที่รั่วไหลจากโครงการที่
                       หลั่งไหลเข้าสู่กลุ่มเครือข่ายของตน ซึ่งการทุจริตเชิงนโยบาย มีความซับซ้อนแตกต่างจากปัญหาการทุจริตและ

                       ประพฤติมิชอบ กล่าวคือ การทุจริตเชิงนโยบาย เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ผ่านการสร้างความชอบ
                       ธรรมอย่างเป็นระบบขึ้นมาเพื่อการคอร์รัปชั่น โดยมีขั้นตอนการด าเนินงานที่ส าคัญคือ กระบวนการท าให้เกิด
                       ความชอบธรรมในการทุจริต โดยการสร้าง และ ใช้ "องค์ความรู้ทางวิชาการ" เป็นเครื่องมือในการสร้างความ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89