Page 80 - kpi21588
P. 80
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 4-40
ประชาชนเพิ่มมากขึ้น อาจเปิดพื้นที่ในโลกออนไลน์ให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมมากขึ้น
กฎหมายที่มี ที่จริงมีความรุนแรง มีบทลงโทษชัดเจนแล้ว แต่ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายไม่
ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพวกพ้องท าให้ กกต.เองก็ไม่อาจ
ต้านอ านาจที่เหนือกว่าหรือมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองที่อาจมีผลต่อการ
ท าหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อเสนอหนึ่งจากการสัมภาษณ์คือ การสร้างองค์กรอิสระที่
เป็นองค์กรภาคประชาชน โดยให้คนรุ่นใหม่เข้าร่วมด้วย เพื่อให้ท าหน้าที่ในการ
ตรวจสอบ สังเกตการณ์และเฝ้าระวังการทุจริตการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเป็น
เครือข่ายในการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนในชุมชน เพราะในหลายกรณีที่
หน่วยงานของรัฐเข้าไม่ถึงชุมชนและประชาชนยังมีความเคลือบแคลงสงสัยใน
บทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่”
สรุปประเด็นความเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย
พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
(4) เสนอให้แก้ไขกฎหมาย ในเรื่อง กรรมการประจ าหน่วยเลือกตั้ง ที่ไม่ควรเป็นก านัน
ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจาก เป็นผู้มีอิทธิพล เสนอให้ใช้เหมือนรูปแบบ ปี พ.ศ.2544 คือ กกต. เป็นผู้เลือกคนมา
ประจ าหน่วย เช่น อสม. อาจมีอิทธิพลน้อยกว่า
(5) ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการบังคับใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้ฝ่ายรัฐ
ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน
“เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของผู้คนไม่มี เสรีภาพในการแสดงออกทาง
การเมืองบ้านเราตอนนี้อยู่ภายใต้ข้อจ ากัดมากเลย เพราะฉะนั้น ที่ผ่านมาเวลาที่มี
ใครท าเรื่องนี้ ไปลงข้อมูลอะไรของเขา โอกาสที่จะถูกฟ้องกลับว่าเขาเอาข้อมูลเป็น
เท็จขึ้นสู่ระบบคอมพิวเตอร์สูงมาก ซึ่งตรงนี้ใช้กฎหมายกันซี้ซั๊วมาก ความเสี่ยงสูง”
ความเห็นจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กลุ่มภาคประชาสังคม
(6) ข้อเสนออื่น ๆ เพิ่มเติมในการแก้ไขกฎหมาย มีข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิบางท่าน เรื่อง
การดักฟังทางโทรศัพท์ ในช่วงการเลือกตั้งเป็นกรณีพิเศษ เพราะจะท าให้เจ้าหน้าที่ทราบเลยว่า มีการติดต่อกัน
กับใครอย่างไร จะโอนเงินไปที่ไหน อย่างไร จะพบกระบวนการซื้อเสียง หากแต่ ประเด็นนี้อาจจ าเป็นต้องไปคิด
ไปออกแบบ เช่น อาจจะต้องอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ เป็นกรณีจ าเป็น เพราะ เป็นการละเมิดหลักสิทธิตาม
รัฐธรรมนูญ