Page 85 - kpi21588
P. 85
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 5-5
สมเหตุสมผลให้กับนโยบาย หรือกฎหมายต่างๆ ที่ล้วนเป็นเพียงเครื่องมือและข้ออ้าง ในการแสวงหาประโยชน์
เพื่อตนเองและพวกพ้อง อันพึงจะได้รับจากการด าเนินงานตามนโยบาย หรือการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศจะไม่ปรากฎสิ่งที่เรียกว่า "การทุจริตเชิงนโยบาย" แต่จะถือว่าเป็นการ
"ทุจริตอย่างเป็นระบบ" (Systemic Corruption) ซึ่งมีลักษณะส าคัญคือ การแสดงพฤติกรรมการคอร์รัปชั่นที่
อาศัยอ านาจในการก าหนดนโยบายสาธารณะ และอ านาจในการก ากับดูแลหน่วยงานรัฐของเหล่าบรรดา
นักการเมือง ในการสร้างเงื่อนไขต่างๆ เพื่อสนับสนุนการคอร์รัปชั่น เช่น การออกนโยบาย หรือแนวทางต่างๆ
ให้กับเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานภาครัฐไปปฏิบัติ ในปัจจุบัน "การทุจริตเชิงนโยบาย" เป็นการทุจริตที่ยังไม่มี
มาตรการใด ๆ ที่ถูกออกแบบ หรือก าหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันและปราบปรามโดยตรง เนื่องจากเป็นการทุจริตที่
ถูกตรวจสอบเอาผิดถึงคณะบุคคลผู้ท าการทุจริตได้ยาก หรือหากสามารถที่จะสืบสาวไปจนถึงกลุ่มบุคคล
ดังกล่าวได้ แต่ก็มักจะไม่มีพยานหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอในการที่จะพิสูจน์ความผิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากว่า พฤติกรรม หรือ เจตนา ของการทุจริตนั้น ได้ถูกสร้างให้เกิดความชอบธรรม และชอบด้วย
กฎหมาย ไปเสียแล้ว และ นอกจากนี้ ยังมีข้อจ ากัดในระบบการควบคุมตรวจสอบที่ไม่สามารถสกัดกั้นได้ ตั้งแต่
ในขั้นตอนการวางนโยบาย เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีกลไกทางกฎหมายเปิดช่องไว้ ขณะเดียวกัน สภาพการ
ทุจริตนั้น มาจากบุคคลซึ่งสังกัดฝ่ายรัฐบาลที่ครองเสียงข้างมาก ส่งผลให้กลไกในการตรวจสอบทางการเมือง
โดยรัฐสภาท างานได้ไม่เต็มที่ และที่ส าคัญคือในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ก าหนดเป็นข้อห้ามไว้
(3) ดังที่ได้เสนอผลการศึกษาว่า ผลของยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการ
ด ารงชีวิตของคนไทย ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบวิธีการของการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมด้วย นั่นคือ “การน าเสนอ
และเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) ทางสื่อสังคมออนไลน์” ปรากฎการณ์จากผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้
สามารถยืนยันอิทธิพลของการเสนอข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ได้ชัดเจนมากว่า มีผลต่อการตัดสินใจของ
ประชาชน เพราะ มีพรรคการเมืองหน้าใหม่ ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือหลักได้รับการเลือกตั้ง ได้ ส.ส.
เข้าสภาเป็นจ านวนมาก และ สื่อสังคมออนไลน์ยังถูกใช้เป็นอาวุธในการโจมตีขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ สร้างอิทธิพลทางความคิด และยังเข้าถึงผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมอย่างรวดเร็วเป็นวงกว้าง ซึ่ง
สอดคล้องกับการศึกษาของ รัตนาภรณ์ จอมมูล (2563) ที่ศึกษาเรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการก ากับ
ควบคุมข่าวปลอมทางการเมืองบนโลกไซเบอร์ นอกจากข่าวปลอมเรื่องสุขภาพแล้ว ยังมีแนวโน้มการเผยแพร่
ข่าวปลอมในด้านอื่น ๆ ที่มากขึ้นเช่นกัน อาทิเช่น การเมือง เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองมานานหลายปี การสร้างข่าวปลอมเพื่อใส่ร้ายป้ายสีฝ่ายตรงข้ามเกิดขึ้นมานาน และการใช้ช่องทาง
ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวท าได้ยาก (เช่น การคัดลอกข่าวแล้วส่งต่อผ่าน Application Line แทนการส่งลิงก์
เพื่อไปอ่านยังเว็บไซต์ต้นฉบับ หรือการบันทึกภาพเนื้อหาจาก Facebook หรือ Twitter มาเผยแพร่ต่อใน
Application Line) ก็ยิ่งท าให้ข่าวปลอมมีจ านวนมากยิ่งขึ้น ตามข้อมูลของศูนย์ส ารวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จ
โพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งได้มีโครงการส ารวจความคิดเห็น
เกี่ยวกับปัญหาข่าวปลอม (Fake News) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยพบเห็นข่าวปลอม ร้อยละ 65.1 และเคยตรวจสอบข้อมูล
ข่าวสารที่คิดว่าเป็นข่าวปลอม ร้อยละ 56.2 สื่อที่พบเห็นข่าวปลอม คือ สื่อ Facebook เป็นอันดับหนึ่ง ร้อยละ