Page 87 - kpi21588
P. 87
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 5-7
คือ การระดมอาสาสมัคร 500,000 คน ช่วยตรวจสอบการเลือกตั้งของฟิลิปปินส์ในปี 2529 โดยการนับคะแนน
คู่ขนานแบบไม่เป็นทางการ (Manual parallel count) หรือที่เรียกว่า “Operation Quick Count” ซึ่งผล
การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการที่ประกาศว่าผู้ชนะคือนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส นั้นขัดแย้งกับผลการนับคะแนน
คู่ขนานของนัมเฟรลที่พบว่านางคอราซอน อากีโน เป็นฝ่ายชนะ น าไปสู่การลุกฮือประท้วงของประชาชนใน
เหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี 2529 (The 1986 People Power Revolution) และการสิ้นสุดลงของยุค
มาร์กอสหลังการปกครองฟิลิปปินส์ต่อเนื่องยาวนานถึงสองทศวรรษ ปัจจุบัน นัมเฟรลมีสมาชิกมากกว่า
250,000 คน โดยนัมเฟรลได้รับการรับรองในฐานะ Citizen’s arm ในการเลือกตั้งทั้งระดับชาติและท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 บทบาทส าคัญ ได้แก่ การช่วย กกต. ตรวจสอบทะเบียนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง
การให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่ประชาชน โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและใน
ต่างประเทศ การช่วย กกต. ตรวจสอบการใช้เงินในการรณรงค์หาเสียง (Campaign finance) ของผู้สมัครรับ
เลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2559)
(5) จากแนวทางที่เสนอให้ กกต. ต้องร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรณรงค์เพื่อปลูกฝังและ
สร้างความตระหนัก ตลอดจน ให้ความรู้แก่ประชาชนทุกระดับ เกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก
การซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้ จะต้อง
ด าเนินการจัดท าแผนการรณรงค์และให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง มิใช่ท าเพียงเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งนั้น
พบว่า เรื่องดังกล่าวมีความส าคัญ และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทการมีส่วนร่วมของพลเมือง ในด้านการรู้
เรื่องการเมือง (Political Literacy) คือ ความรู้ความเข้าใจ และ การรู้ถึงผลกระทบ ซึ่งเป็นพื้นฐานส าคัญต่อ
การมีบทบาทของพลเมืองในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการมีส่วนร่วม และ การมีบทบาทเป็นพลเมืองที่มีการตัดสินใจเลือก
ผู้แทนที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นจุดหมายปลายทางตามภารกิจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คือ การพัฒนา
การเมืองและการเลือกตั้ง เพื่อความเป็นประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และ เพิ่ม
อ านาจให้แก่ประชาชนในการควบคุมทางสังคม อันเป็นแนวทางในการควบคุมและตรวจสอบการเลือกตั้งที่มี
ประสิทธิภาพ โดยผ่านกระบวนการให้ความรู้ การสร้างจิตส านึก การพัฒนาเครือข่าย และการส่งเสริมการมี
ส่วนร่วม (ศุภชัย สมเจริญ, 2558) ซึ่งในความเห็นของคณะผู้วิจัย มองว่า ยังต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สัมพันธ์
เกี่ยวข้องร่วมด้วยอีก เริ่มตั้งแต่ รัฐต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงใจ โดยจัดให้มีการศึกษา
ของพลเมือง คนรุ่นใหม่สนใจการเมือง สร้างกระบวนการเรียนรู้ และตระหนักถึงผลของการซื้อสิทธิขายเสียง
เสริมสร้างการเมืองภาคพลเมือง สร้างชุมชนเข้มแข็ง ใช้อ านาจร่วมกัน และปฏิบัติแบบประชาธิปไตย สร้าง
นวัตกรรมในการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง สร้างผู้น ารุ่นใหม่ และมีการสื่อสารสาธารณะ เปิดพื้นที่ให้ประชาชน
มีส่วนร่วม มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการติดตามตรวจสอบ และเข้าถึงได้ มีกลไกให้ประชาชนมีส่วน
ร่วมอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง และสะดวก ท าการเมืองเชิงสถาบันให้เข้มแข็ง มีธรรมาภิบาล เน้นการปกครอง
ท้องถิ่นที่เข้มแข็ง ในส่วนของ กกต. จะต้องบังคับใช้กฎหมาย มีธรรมาภิบาล สร้างกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วม
และในแง่ของกฎหมาย จะต้องปรับปรุงให้มีความทันสมัย สามารถปฏิบัติและบังคับใช้ได้จริง สรุปได้เป็นตัว
แบบดังภาพ