Page 83 - kpi21588
P. 83
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 5-3
ช้านานในเรื่อง การเคารพครอบครัว ระบบเครือญาติ การเคารพผู้ใหญ่ การพึ่งพิงอิงอาศัย การให้เงินหรือ
สิ่งของที่สร้างความรู้สึกทางใจแก่ผู้รับ ที่นิยมใช้ค าว่า “เป็นบุญคุณ” ซึ่งท าให้นักการเมืองใช้เรื่องดังกล่าวนี้ เป็น
จุดเริ่มต้นของการคิดรูปแบบวิธีการต่าง ๆ ที่จะฝังรากทางความรู้สึกของผู้คน หรือ ในงานวิจัยนี้ใช้ค าว่า “สร้าง
บารมี” โดยเฉพาะคนชนบท ที่ยังเป็นกลุ่มที่นักการเมืองมองว่า “การให้” เป็นเครื่องมือที่ยังใช้ได้ผลดี แต่จาก
อดีตที่จะกระท าในห้วงเวลาของการเลือกตั้งนั้น ฝ่ายการเมืองพบว่า มีความเข้มข้นไม่เพียงพอในการจูงใจ จึงได้
มีการปรับรูปแบบไปสู่การสร้างระบบอุปถัมภ์แบบต่อเนื่องในพื้นที่ ผลการศึกษานี้ยังคงมีความสอดคล้องกับ
งานวิจัยในอดีตหลายเรื่อง อาทิ งานของ สติธร ธนานิธิโชติ (2550) ที่ศึกษาพฤติกรรมนิยม และสถาบันนิยมใน
การเมืองเรื่องการเลือกตั้งของไทย มีข้อสรุปว่า พฤติกรรมเลือกตั้งของประชาชนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของการ
โน้มน้าวชักจูงด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะวิธีการเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้ ได้น าไปสู่ปัญหาทางการเมือง
ต่างๆ จ านวนมาก และส าหรับระบบการเมืองไทยเท่าที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าปัญหาเหล่านี้เป็น
อุปสรรคต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของประเทศ และ ได้สรุปเหตุผลส าคัญที่ท าให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี
ความผูกพันกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และเป็นที่มาของการใช้อิทธิพลในการโน้มน้าว ชักจูง บังคับให้ผู้อยู่ภายใต้
อิทธิพลกระท าหรือตัดสินใจบางอย่างได้นั้น ว่าเป็นเพราะสังคมไทยมีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมประเภท
หนึ่งซึ่งผู้ที่มีความสัมพันธ์แต่ละฝ่ายมีบทบาท หน้าที่และความคาดหวังต่อกันบางประการ ซึ่งเป็นที่รับรู้และ
ยอมรับร่วมกันตามธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม ที่เรียกว่า “ระบบอุปถัมภ์” ฝังรากลึกอยู่
นอกจากนี้ งานของจากการศึกษาของ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2533) สรุปว่าความสัมพันธ์ของระบบ
อุปถัมภ์ในชนบทไทยมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้น าชุมชนในต าแหน่งกับลูกบ้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนเจ้าของที่ดินและชาวบ้านยากจน และความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ
นักการเมือง และนายทุนจากภายนอกกับชนชั้นน าภายในหมู่บ้าน ซึ่งความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในลักษณะต่างๆ
นี้จะส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งในรูปแบบการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน สุวัฒน์ ศิริโภคาภิรมย์ (2540)
พบในการศึกษา “อิทธิพลของผู้น าชุมชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: ศึกษากรณีผู้น า
ชุมชนในเขตเทศบาลต าบลหัวหิน” ว่าการยอมรับในตัวผู้น าชุมชนและการเข้าไปมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน
ที่มีลักษณะความเป็นเมือง คือ ชุมชนพูลสุข และชุมชนที่มีลักษณะความเป็นชนบท คือ ชุมชนบ้านใหม่-หัวนา
ไม่มีความแตกต่างกัน โดยสมาชิกของทั้งสองชุมชนมีความยอมรับในตัวผู้น าชุมชน และผู้น าชุมชนมีอิทธิพลต่อ
การชักจูง โน้มน้าวให้สมาชิกในชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย ซึ่งวิธีการที่พบในการวิจัยนี้ มีความ
สอดคล้องกับการศึกษารูปแบบและกลวิธีในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นของ ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์ (2561) ที่
พบว่า ในการทุจริตเลือกตั้งมีวิธีการใช้เงินซื้อเสียง มีวิธีการ 2 รูปแบบ ได้แก่ การซื้อเสียงโดยตรง โดยวิธีการซื้อ
ผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งโดยตรง การซื้อหัวคะแนน การซื้อเสียงโดยผ่านตัวแทนมีความหลากหลาย และ การซื้อเสียง
ทางอ้อม โดยวิธีการให้อามิสสินจ้างและค ามั่นสัญญาต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ และ การซื้อโดยใช้การพนัน
เป็นเครื่องมือ รวมถึง การใช้อิทธิพลข่มขู่หัวคะแนนฝ่ายตรงกันข้ามและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และ การโจมตีคู่
แข่งขันโดยการใส่ร้ายป้ายสีและสร้างข่าวลือ นอกจากนี้ ข้อมูลในระดับพื้นที่จากกรณีศึกษาที่พบว่ามีปัญหาของ
การซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ยังเป็นการยืนยันถึงการมีอยู่จริงของสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากสอดคล้องกับข้อมูล
การร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งตามข้อมูลของ กกต. ในกรุงเทพมหานครที่มากถึง 59 เรื่อง จังหวัดเชียงใหม่ 11
เรื่อง จังหวัดสกลนคร 9 เรื่อง และ จังหวัดนครศรีธรรมราช 10 เรื่อง